พระเจ้าแผ่นดินหรือพระมหากษัตริย์ เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทรงแต่งตั้งพระบรมวงศา นุวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้รับภาระต่างพระเนตรพระกรรณ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระในการบริหารประเทศ ตำแหน่งผู้บริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ ลำดับได้ดังนี้
ต่อจากเสนาบดีลงมา ได้แก่ ขุนนางที่เป็นเจ้ากรมใหญ่ และเจ้าเมืองต่างๆ เป็นต้น ตำแหน่งสำคัญอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้แก่ ตำแหน่ง "ผู้กำกับราชการ" ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "เสนาบดีที่ปรึกษา" อัครมหาเสนาบดีเป็นตำแหน่งขุนนางชั้นสูงสุด ซึ่งแบ่งแยกการบริหารออกเป็น
๒ ฝ่าย คือ ตำแหน่งทั้งสองนี้ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ เสนาบดีจตุสดมภ์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีอยู่ ๔ ตำแหน่ง คือ สำหรับยศข้าราชการ ฝ่ายราชสำนักในกรมมหาดเล็ก แต่เดิมมีตำแหน่งจางวางเป็นหัวหน้า มีหัวหมื่น รองหัวหมื่น และจ่า เป็นลำดับกันลงมา ภายหลังได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตำแหน่งใหม่ ยศข้าราชการชั้น เสวกซึ่งขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นมีหลายระดับชั้น เริ่มตั้งแต่รองเสวกตรี รองเสวกโท รองเสวกเอก แล้วเลื่อนขึ้นเป็นเสวกตรี เสวกโท เสวกเอก แล้วขึ้นเป็นมหาเสวกตรี มหาเสวกโท มหาเสวกเอก ขุนนางชั้นเสวกนี้ถึงแม้จะอยู่ในกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งก็ตามให้ใช้ยศว่า เสวก ไม่ให้ใช้ อำมาตย์ *ดังปรากฎหลักฐานจากประกาศเปลี่ยนยศอุปราชและสมุหเทศาภิบาล เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๘ ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ตำแหน่งยศและหน้าที่ของเสนาบดีต่างๆ ที่กล่าวโดยย่อข้างต้นนี้เป็นเพียงหน้าที่ในยามบ้านเมืองปกติเท่านั้น แต่ถ้ามีข้าศึกสงครามมารุกรานประเทศ เสนาบดีเหล่านี้ต้องเข้าประจำหน้าที่แม่ทัพนายกอง ทำการเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของแผ่นดินอีกด้วย ฉะนั้นผู้ที่จะขึ้นตำแหน่งเสนาบดีมียศฐาบรรดาศักดิ์สูง ก็จะกอปรไปด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ ความอุตสาหะ วิริยะ มีความจงรักต่อแผ่นดิน มีความดีความชอบ ได้เลื่อนยศฐาบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยานาหมื่นชั้นหิรัญบัฏขึ้นไปทั้งสิ้น ในสังคมไทยเรามักจะได้ยินคำอวยพรที่ญาติผู้ใหญ่ให้กับลูกหลานว่า "ขอให้ลูก (หรือหลาน) ได้เป็นเจ้าคนนายคน" หรือขอให้ลูก (หรือหลาน) มีบริวารมากๆ" และยังมีคำพังเพยที่ว่า "สิบพ่อค้าไม่เท่าหนึ่งพระยาเลี้ยง" เป็นต้น ตามประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑ เล่ม ๑ ได้จัดระบบตำแหน่งยศขุนนาง ประเภทตามกฎหมายและศักดินา ดังนี้
ขุนนาง บรรดาศักดิ์สูงสุด คือ สมเด็จเจ้าพระยา (ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน) รองลงมาได้แก่ เจ้าพระยา (เสนาบดีและเจ้าเมืองในหัวเมืองเอก) พระยา พระ หลวง ขุน ลงมาตามลำดับ ขุนนางในกรมมหาดเล็ก ถือศักดินาเทียบจำนวนไร่ ดังนี้
ขุนนางที่ถือศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง จะได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้ บุคคลเหล่านี้สามารถมีไพร่จำนวนหนึ่งเป็นเสมียนทนายของตนได้ตามยศของตน นอกจากนี้จะได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงานไปใช้ต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย เป็นต้น ตามโครงสร้างของระบบศักดินา จะเห็นได้ว่าเจ้ามิได้เป็นชนชั้นหนึ่งเหนือขุนนาง ตำแหน่งสมเด็จ เจ้าพระยา ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของขุนนาง มียศเท่ากับเจ้าที่ดำรงตำแหน่งกรมหลวง นามของสมเด็จ เจ้าพระยาจะจารึกไว้ในพระสุพรรณบัตรเมื่อได้รับ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เช่นเดียวกับเจ้าที่ทรงกรม เครื่องยศ ประกอบฐานะคือ กลด เสลี่ยงและดาบ มีลักษณะเหมือนเจ้านายที่ทรงกรมต่างที่หัวหน้ากรม สมเด็จ เจ้าพระยาจะมิได้เรียกว่า เจ้ากรม เรียกว่าจางวางแทน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการแปลตำแหน่งสมเด็จ เจ้าพระยาเป็นภาษาอังกฤษว่า "non-royal Duke" แต่ตำแหน่งเจ้านายที่ทรงกรมให้แปลว่า "royal Duke" และมีศัพท์บางคำใช้กับสมเด็จเจ้าพระยา เช่น องค์แทนคน เช่น สมเด็จ เจ้าพระยาสององค์ (กรมพระสมมตฯ, เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า ๓๖-๓๗) ความแตกต่างระหว่างเจ้าและขุนนางส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความจริงที่ว่า พวกเจ้าสืบเชื้อสายมาจากพระมหากษัตริย์เท่านั้น มิได้ขึ้นอยู่กับอำนาจทางการเมือง การควบคุมกำลังไพร่พลและความมั่งคั่ง ถึงแม้ว่าระบบชนชั้นศักดินาจะแบ่งฐานะของบุคคล แต่ประเพณีของคนไทยยังถือหลักความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้ใหญ่กับผู้น้อย การได้ครอบ ครองกำลังไพร่พลเป็นลักษณะของความมั่งคั่ง เป็นแบบฉบับของชีวิตความเป็นอยู่ที่จำเป็นต้องมีผู้ติดสอยห้อยตาม มีข้าทาสบริวาร การถือสิ่งของเดินตามหลัง ยังบ่งบอกตำแหน่งของผู้เป็นเจ้านายรวมถึงชั้นวรรณะอีกด้วย ยศบรรดาศักดิ์และตำแหน่งหน้าที่ของขุนนางได้มีการเปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัย เนื่องจากการเปลี่ยน แปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตำแหน่งเสนาบดีคลังจะมีบทบาทในการบริหารประเทศมากขึ้น
|
Copyright © 2005 Bunnag.in.th
All rights reserved. |