
คณะเสนาบดีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตำแหน่งเสนาบดีสำคัญๆ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ของขุนนางในสกุลบุนนาคนั้นมีหลายตำแหน่ง
ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ เป็นช่วงที่เสนาบดีจากตระกูลบุนนาคมีบทบาท
ในการช่วยบริหารประเทศมากกว่าเสนาบดีในตระกูลอื่น ตำแหน่งสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยนั้น
มีบุคคลในสกุลบุนนาคดำรงตำแหน่ง โดยสรุปดังนี้
๑. ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เป็นตำแหน่งสูงสุดในแผ่นดินที่บริหารราชการในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสที่พระองค์มิได้ประทับอยู่ในพระนคร เป็นตำแหน่งที่เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่
๔ และมีในรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๗ รัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙
- สมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)
เป็นผู้สำเร็จราชการในรัชกาลนี้ และอยู่ในตำแหน่งจนถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่
๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘
- สมัยรัชกาลที่ ๕ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินท่านแรกคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง บุนนาค) บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ท่านเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ
๑๕ พรรษา และดำรงตำแหน่งอยู่ ๕ ปี พ้นหน้าที่โดยถึงแก่พิราลัย
|
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินท่านที่ ๒ คือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีบรมราชินีนาถ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป ปี พ.ศ. ๒๔๕๐
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีตำแหน่งที่สูงมากขึ้นอีก ๒ ตำแหน่ง
ได้แก่ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ทั่วพระราชอาณาจักร พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
(ดิศ บุนนาค) ผู้พี่ และตำแหน่งที่สองได้แก่ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในพระนคร
พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ผู้น้อง
๒. ตำแหน่งผู้กำกับราชการ
ตำแหน่งนี้เริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ ๒ สำหรับขุนนางสกุลบุนนาคได้เป็นผู้กำกับราชการเพียงท่านเดียว
คือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เป็นผู้กำกับราชการกรมท่า
ท่านเป็นเจ้าพระยาที่มีศักดินาสูงกว่าเจ้าพระยาท่านอื่นๆ และเป็นเจ้าพระยาคนเดียวที่มีศักดินาถึง
๒๐,๐๐๐ ไร่ (เจ้าพระยาทุกคนมีศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่) มีเกียรติยศเสมอสมเด็จเจ้าพระยา
และมีอำนาจแต่งตั้งจางวางทนาย ปลัดจางวางและสมุห์บัญชีจางวางประจำตำแหน่งตนเองได้
เป็นขุนนางคนหนึ่งที่มีอำนาจมากสมัยนั้น
๓. ตำแหน่งสมุหนายก กรมมหาดไทย
ตำแหน่งนี้ไม่มีขุนนางสกุลบุนนาค ในสมัยรัชกาล ที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕
๔. ตำแหน่งสมุหพระกลาโหม
สมัยรัชกาลที่ ๑ |
-
|
เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) บุตรเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ท่านเป็นน้องต่างมารดากับเจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา) และท่านเป็นต้นสกุล
"บุนนาค" |
สมัยรัชกาลที่ ๓ |
-
|
เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)
ต่อมาเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ในรัชกาล ที่ ๔ |
สมัยรัชกาลที่ ๔ |
-
|
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) |
สมัยรัชกาลที่ ๕ |
-
|
เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) |
|
-
|
พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าพระยาพลเทพ
(พุ่ม) ในตำแหน่งสมุหพระกลาโหมชั่วคราว |
๕. ตำแหน่งเสนาบดีกรมเมือง
สมัยรัชกาลที่ ๑ |
-
|
เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยายมราช
|
๖. ตำแหน่งเสนาบดีกรมคลัง
สมัยรัชกาลที่ ๒ |
-
|
เจ้าพระยาสุริยวงศ์โกษา (ดิศ บุนนาค) คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
|
สมัยรัชกาลที่ ๓ |
-
|
ในรัชกาลนี้มีผู้ดำรงตำแหน่งเพียงท่านเดียว คือ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ
บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ โดยท่านว่าราชการพร้อมกัน
๒ ตำแหน่ง ได้แก่ สมุหพระกลาโหมและเสนาบดีกรมท่าตลอดรัชกาลนี้ |
สมัยรัชกาลที่ ๔ |
-
|
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
(ดิศ) |
สมัยรัชกาลที่ ๕ |
-
|
ในรัชกาลนี้มีผู้ดำรงตำแหน่งเพียงท่านเดียว คือ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี
(ท้วม บุนนาค) บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ) |
๗. ตำแหน่งกระทรวงกลาโหม
สมัยรัชกาลที่ ๕ |
-
|
พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) ท่านผู้นี้มารักษาการแทนชั่วคราวเท่านั้น |
๘. ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
สมัยรัชกาลที่ ๕ |
-
|
พ.ศ. ๒๔๑๘ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้แยกกรมพระคลังมหาสมบัติออกจากกรมท่า
พร้อมกันนั้นโกรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)
ดำรงตำแหน่ง "ผู้ว่าการต่างประเทศ" |
|
-
|
พ.ศ. ๒๔๓๐ มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์
วโรปการ เสด็จประพาสยุโรป ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)
มาเป็นผู้รักษาการแทนเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศชั่วคราว |
๙. ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
สมัยรัชกาลที่ ๕ |
-
|
พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) เดิมเป็นราชทูตประจำกรุงปารีส ได้มีพระบรมราชโองการสั่งให้กลับมาเข้าดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
แล้วย้ายมาอยู่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ |
๑๐. ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตร พาณิชยการ
สมัยรัชกาลที่ ๕ |
-
|
เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) |
๑๑. ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ
สมัยรัชกาลที่ ๕ |
-
|
เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) |
๑๒. ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
สมัยรัชกาลที่ ๕ |
-
|
พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) |
๑๓. ตำแหน่งผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
สมัยรัชกาลที่ ๕ |
-
|
พลโท เจ้าพระยาสุรวงศ์ วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) |
๑๔. ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี
- เจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ (เทศ)
- พระยาสุรินทรฤาชัย (เทียม)
- พระยาสุรินทรฤาชัย (เทียน) |
|