ีพ.ศ. ๒๓๖๑ ได้มีการขยายพระบรมมหาราชวังลงมาทางใต้
จึงได้รื้อบ้านทุกหลังที่ตั้งอยู่ระหว่างกำแพงวัดด้านใต้กับกำแพงวัดพระเชตุพนฯ
พระยาสุริยวงศ์มนตรี (ดิศ บุนนาค) ได้ย้ายบ้านไปอยู่ที่สวนริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก
ใต้บ้านกุฎีจีน ซึ่งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพุทธยอดฟ้าฝั่งตะวันตกในปัจจุบันนี้
ส่วนทางสายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลนั้น มีนิวาสถานเดิมอยู่หลังวัดจุฬามณี
ซึ่งเป็นวัดที่สันนิษฐานว่า ท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้างต้นวงศ์ราชินิกุล
บางช้าง เป็นผู้สร้างขึ้น ต่อมาได้ถูกไฟไหม้เสียหาย จึงได้ย้ายมาสร้างบ้านใหม่
ตรงบริเวณที่เป็นพุทธาวาสของ วัดอัมพวันเจติยาราม
ในปัจจุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จทอดพระเนตรบริเวณสถานที่นี้เมื่อ
ร.ศ. ๑๒๘ (ปีรัตนโกสินทร์ศกตรงกับ พ.ศ. ๒๔๕๓)
คลองสมเด็จ (คลองอนงคาราม)
คลองสมเด็จ (คลองอนงคาราม)
|
ตามประวัติของเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอม มารดาแพ) พระนิพนธ์ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
กล่าวถึงบ้านเรือนของพี่น้องสกุลบุนนาค ว่าอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ฝั่งธนบุรี สร้างบ้านปลูกเรือนอยู่ ใกล้ๆ กัน ในละแวกนั้น พื้นที่เริ่มจากคลองบางหลวง
(คลองบางกอกใหญ่) เลียบตามฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาจนถึงเขตคลองขนอน
(คลองตลาดบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา) ที่ดินเหล่านี้ได้รับพระราชทานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
๓ อาจแบ่งเป็นเขตใหญ่ๆ ๒ เขตได้แก่ เขตของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
(ดิศ บุนนาค) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สมเด็จองค์ใหญ่ กับเขตของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
(ทัต บุนนาค) ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สมเด็จองค์น้อย พื้นที่ทั้งสองเขตนอกจากเป็นที่อยู่อาศัยของบุตรหลานแล้ว
ยังได้ถวายพื้นที่ สร้างวัดของตระกูล คือ วัดประยุรวงศาวาส วัดพิชยญาติ
การาม วัดอนงคาราม เป็นต้น วัดทั้ง ๓ แห่งนี้เป็นที่บุคคล ในสกุลบุนนาคบรรพชาพระภิกษุ
สามเณร ประกอบศาสนกิจ และเป็นสถานที่ศึกษาอักขระเบื้องต้นอีกด้วย
เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) บุตรสมเด็จองค์ใหญ่ได้เป็นที่สมุหพระกลาโหม
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระราชทานจวนของเจ้าพระยาบดินทรเดชา
(สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายก ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งพระนคร ริมคลองสะพานหัน
ปัจจุบันนี้ ตรงเวิ้งนครเกษม (จวนนั้นได้ตกเป็นของหลวง เมื่อเจ้าของถึงอสัญกรรมในปลายรัชกาลที่
๓) ให้เป็นจวนหรือบ้านพักของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
และได้พำนักอยู่ ๑ ปี ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ สมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
(ดิศ) บิดาของท่านถึงพิราลัย เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ขอถวายจวนคืนเป็นที่หลวง
เนื่องจากต้องกลับไปดูแลทรัพย์สินของท่านบิดา ดังนั้นได้ย้ายกลับไปอยู่ที่ฝั่งธนบุรี
แต่มิได้อยู่ที่จวนของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ท่านได้ยกจวนนั้นให้แก่น้องสาวอยู่ด้วยกันอย่างเดิม
และท่านไปสร้างบ้านอยู่ใหม่ที่ บริเวณสวนกาแฟ
ริมคลองสานหลังวัดประยุรวงศาวาส
|
คลองสานนี้มีมาแต่เดิม มีความยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร ต้นคลองเริ่มจากตรงที่ต่อกับคลองบ้านสมเด็จ
(คลองสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย) ที่หน้าวัดพิชยญาติการาม ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ป้อมป้องปัจจามิตร
คลองสานนี้ตัดผ่านคลองต่างๆ หลายคลองเช่น คลองจีน คลองวัดทองธรรมชาติ คลองวัดทองนพคุณ
และคลองลาดหญ้า เป็นต้น เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ได้ต่อเรือกำปั่นจักรข้างขึ้นลำหนึ่ง ชื่อ "อรรคราชบรรยง" โรงต่อเรืออยู่ตรงข้ามกับหน้าวัดพิชยญาติการาม
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ให้ขุดคลองสานเดิมขยายให้กว้างและลึกเพื่อจะนำเรือลงน้ำออกแม่น้ำเจ้าพระยา
การเรียกชื่อคลองสานจะมีต่างๆ กัน บ้างเรียกคลองสานสมเด็จ บางทีเรียกคลองลัดวัดอนงค์
ส่วนบริเวณฝั่งใต้ย่านคลองวัดทองนั้น มีคลองที่ขุดใหม่ใน สมัยเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี
(ท้วม บุนนาค) เรียกว่า คลองสานเจ้าคุณกรมท่า
ส่วนคลองบ้านสมเด็จนั้นอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดอนงคาราม ด้านปากคลอง เป็นที่ตั้งบ้านของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
(ทัต บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ต่อมาท่านได้บูรณะวัดร้างใกล้กับวัดอนงคาราม
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ โดยสร้างขึ้นใหม่ ต้องใช้วัสดุก่อสร้างจำนวนมาก และขนมาทางคลอง
บริเวณนั้นเป็นป่าช้าไม่มีบ้านเรือนมาก คลองนี้จึงขุดกว้างพอที่เรือบรรทุกวัสดุก่อสร้างและหินสลักจากเมืองจีน
เพื่อมาประดับตกแต่งอารามผ่านเข้ามาได้ ในตอนแรกเรียกว่าคลองตลาดสมเด็จ ต่อมาเป็นคลองสมเด็จเจ้าพระยา
ในปัจจุบันเรียกว่าคลองวัดอนงคาราม
ส่วนคลองตอนในบริเวณหน้าวัดที่สร้างใหม่ เรียกว่า คลองวัดพระยาญาติ (ในสมัยรัชกาลที่
๔ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพิชยญาติการาม) นอกจากขุดคลองบ้านสมเด็จเพื่อใช้ในการสร้างวัดแล้ว
สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยยังได้ขุดคลองสกัดหลังวัดพิชยญาติการามอีกคลองหนึ่ง
ต้นคลองเริ่มจากคลองวัดน้อย (วัดหิรัญรูจี) ปลายคลองไปบรรจบคลองสานเดิม เรียกกันว่า
คลองหลัง พระปรางค์เหลือง
วัดพิชยญาติการาม
คลองในเขตคลองสานส่วนใหญ่จะเป็นคลองที่คนในตระกูลบุนนาคเป็นผู้ขุดเกือบทั้งสิ้น
นาวาเอกพระยาชลธารวินิจฉัย (มุ้ย ชลานุเคราะห์) ได้เล่าไว้ในประวัติคลอง
เขตหมู่บ้านสมเด็จเจ้าพระยาว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ขุดขยายคลองในการสร้างบ้านและวัด
สมเด็จ เจ้าพระยาองค์น้อยกับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ขุดขยายคลองในการสร้างวัด
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ กับเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (เจ้าคุณทหาร)
ขุดขยายคลองในการสร้างเรือกำปั่นหลวง และเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี หรือเจ้าคุณกรมท่า
ขุดคลองในการสร้างสวนเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ สถานที่ผลิตเรือรบนั้นอยู่ทางฝั่งคลองสานเป็นส่วนใหญ่
อู่เรือบ้านสมเด็จ ซึ่งอยู่หน้าวัดอนงคารามนั้น เป็นอู่เรือที่อยู่ในความอำนวยการของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ซึ่งท่านชอบต่อเรือมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นหลวงนายสิทธิ์ ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นคนไทยคนแรกที่ต่อเรือกำปั่นใบแบบฝรั่งได้
คือเรือแกล้วกลางสมุทร (ต่อที่จันทบุรี) อู่เรือที่หน้าวัดอนงคารามอยู่ใกล้กับจวนของท่าน
เป็นสถานที่สมเด็จเจ้าพระยาฯ ต่อเรือรบและเรือพระที่นั่งถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รวมทั้งเรือสำหรับใช้เป็นการส่วนตัว เช่น เรือฤทธิแรงศร เรือลิ่ว ลอยเวหน
และเรือสุริยมณฑล เป็นต้น
เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) หรือเจ้าคุณทหาร บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
เป็นผู้อำนวยการต่อเรือหน้าวัดอนงคารามสืบต่อจากสมเด็จ เจ้าพระยาฯ เจ้าคุณทหารมีบุตรธิดา
๖๕ คน มีนิวาสถาน อยู่บริเวณพื้นที่ด้านตะวันตก (ของที่ดินเขตสมเด็จ เจ้าพระยาองค์ใหญ่)
พื้นที่ส่วนกลางจะเป็นนิวาสถานของเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)
ส่วน ด้านทิศตะวันออก จะเป็นเขตของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)
|