สนามหญ้าในสวนของเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม
บุนนาค)
ต่อมาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) ได้ย้ายโรงเรียน สตรีฯ ไปตั้งที่ที่ดินและตึกบ้านของท่านผู้หญิงพัน
ที่ตำบลตลาดแขก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนศึกษานารี
ในปีต่อมาได้ขยายหลักสูตรสอนถึงระดับมัธยมปีที่ ๓ เช่นเดียวกับโรงเรียนสุขุมาลัย
ที่วัดพิชยญาติการาม และโรงเรียนมัธยมอนงค์ (โรงเรียนมัธยมอุดมวิทยายนเดิม)
นักเรียน ที่อยู่บริเวณชุมชนนี้ เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาแล้ว สามารถ จะศึกษาต่อที่โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
(ซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่โรงเรียนศึกษานารีในปัจจุบัน และได้สลับที่ตั้งกับโรงเรียนศึกษานารี
ใน พ.ศ. ๒๔๗๕)
โรงเรียนศึกษานารีในปัจจุบัน ตั้งอยู่บนที่ดิน บริเวณที่เรียกว่า "บ้านสมเด็จ"
เป็นที่ดินของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) บิดาของเจ้าคุณพระประยูรวงศ์
(เจ้าคุณจอมมารดาแพ) เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ได้อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้ตั้งแต่ยังเล็ก
จนท่านได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕ ท่านจึงย้ายออกไป เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ท่านมีความผูกพันต่อสถานที่นี้มาก
ท่านได้บริจาคเงินจุนเจือโรงเรียนศึกษานารีมาตลอดชีวิตของท่าน ทางโรงเรียนได้สร้างอาคารเรียนขึ้นหลังหนึ่ง
เรียกว่า "เรือนเจ้าคุณพระประยูรวงศ์บูรณะ" เรียกสั้นๆ ว่า "เรือนเจ้าคุณฯ"
ก่อสร้างขึ้นด้วยเงินที่เจ้าคุณพระประยูรวงศ์บริจาคบำเพ็ญการกุศลสาธารณประโยชน์
เมื่อท่านมีอายุครบ ๘๐ ปี (ปัจจุบันนี้อาคารหลังนี้ได้รื้อลงแล้ว เนื่องจากสภาพเก่าทรุดโทรม)
บริเวณตอนเหนือของสถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จ เจ้าพระยา ติดกับคลองบางกอกใหญ่
เป็นสถานที่ต่อเรือของกองทหารในสังกัดของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ส่วนบริเวณด้านตะวันออกของสถาบัน คือ บริเวณวัดบุปผารามซึ่งเคยเป็นสถานที่ฝึกทหารตามแบบตะวันตกแต่เดิม
ในสมัยนั้นพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้จ้างชาวอังกฤษ
ชื่อกัปตันนอกซ์ (เซอร์ โทมัส ยอร์ช นอกซ)์ มาเป็นครูฝึกทหารในบริเวณดังกล่าว
บริเวณนั้นมีชาวมอญอพยพมาอาศัยอยู่ เนื่องจากเป็นผู้ที่มีความสามารถในการต่อเรือ
และเคยสังกัดในกองทหารของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์มาก่อน ส่วนบริเวณตอนใต้ของโรงเรียนเป็นที่อยู่
ของชาวลาว คือบริเวณวัดบางไส้ไก่
วัดพิชยญาติการาม
|
จากแผนที่กรุงเทพ (Plan of Bangkok) ปี ค.ศ. ๑๘๘๘ จัดทำโดย McCarthy
พิมพ์ที่ลอนดอนประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ แสดงถึงถิ่นฐานบ้าน ของบุคคลในตระกูลบุนนาค
เริ่มแต่คลองบางหลวงเลียบ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นบ้านของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์
(พร บุนนาค) ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้แบ่งที่ดินของบ้านพระยาอภัยสงคราม
(นกยูง บุนนาค) ให้ ถัดมาจะเป็นบ้านของพระยาจันทบูรณ์ (พระยาอรรคราชนารถภักดี
- หวาด บุนนาค) ถัดลงมาเป็นบ้านของเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม
บุนนาค) และพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เรื่อยลงมาจนถึงคลองขนอน
คลองตลาดบ้านสมเด็จ จะเป็นเขตของสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต
บุนนาค) หรือสมเด็จ เจ้าพระยาองค์น้อย (เจ้ากรมพระคลังสินค้าในรัชกาลที่
๓ และผู้สำเร็จราชการพระนครในรัชกาลที่ ๔) จวนของสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยอยู่บริเวณวัดอนงคาราม
ใกล้กับวัดร้างที่ท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งอาราม แล้ว น้อมเกล้าฯ
ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เป็นพระอารามหลวง
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ ได้พระราชทานนามว่า วัดพระยาญาติการาม ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่
๔ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพิชยญาติ การาม ในการสร้างวัดนี้ท่านได้ให้ขุดคลองสมเด็จหรือคลองวัดอนงคาราม
ส่วนท่านผู้หญิงน้อย ภรรยาสมเด็จ เจ้าพระยาองค์น้อย ได้สร้างวัดอนงคารามขึ้นที่บริเวณสวนกาแฟ
และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๓ |
พ.ศ. ๒๓๘๐ สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ครั้งเป็นที่พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา
กลับจากราชการทัพปราบกบฏไทรบุรี ได้กวาดต้อนชาวไทรบุรีมาด้วย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้พำนักที่ย่านสุเหร่าคลองนางหงส์ก่อน แล้วจึงย้ายไปอยู่แถบคลองแสนแสบ
ครั้งนั้นสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยได้กราบบังคมทูล ขอพระราชทานช่างฝีมือทางผสมโลหะนากและทำเครื่องใช้
เครื่องประดับนากจากเมืองสุไหงปัตตานี ให้มาตั้งถิ่นฐานในตำบลบ้านของท่าน
ใกล้กับพวกลาวเวียงจันทร์ที่เป็นช่างทองและช่างนาก ซึ่งเป็นพวกลาวที่เจ้าพระยาบดินทร์เดชา
(สิงห์ สิงหเสนี) กวาดต้อนมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๗๐ บริเวณใกล้วัดอนงคารามจึงมีทั้งชื่อ
ตรอกช่างทอง และตรอกช่างนาก
|