พลับพลาที่อ่างศิลา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชดำริว่า ที่ชายทะเล ตำบลอ่างศิลา
แขวงเมืองชลบุรีเป็นที่อากาศดี โปรดให้สร้างเป็นที่ประทับแห่งหนึ่ง กับที่เขาสามมุขด้านใต้ตำบลอ่างศิลา
โปรดให้สร้างพลับพลาเป็นที่ประพาสด้วย การปลูกสร้างพระตำหนักที่สวนอ่างศิลานั้นสร้างชั่วคราว
ได้ถมศิลาที่ชายทะเลก่อเป็นท่าจอดเรือ สร้างแต่พลับพลาที่เขาสามมุข ต่อมาเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหม สร้างตึกอาศัยสถานหลังใหญ่ขึ้นหลังหนึ่ง
และเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) สร้างตึกอาศัยสถานหลังเล็กขึ้นอีกหลังหนึ่งที่ปลายแหลม
สำหรับให้คนป่วยไปพักรักษาตัวเป็นการกุศล และใช้เป็นสถานที่พักตากอากาศด้วย
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จไปประพาสอ่างศิลาหลายครั้ง พลับพลาที่เขาสามมุขผุพังไปหมด
เพราะเป็นพลับพลารับเสด็จชั่วคราว เมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ตึกอาศัยสถาน ๒ หลังนั้น
พร้อมตกแต่งเครื่องใช้สอยครบบริบูรณ์ พระราชทานนามหลังใหญ่ว่า ตึกมหาราช
นามหลังเล็กนั้นว่า ตึกราชินี
พระนครปฐม เมืองนครไชยศรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ โปรด เกล้าฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์
(ขำ บุนนาค) เป็นแม่กอง กรมขุนราชสีหวิกรม เป็นนายช่าง สร้างพระราชวังขึ้นด้านตะวันออกพระปฐมเจดีย์
เมื่อครั้งทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ พระราชวังนี้สำหรับเป็นที่ประทับเวลาเสด็จออกไปนมัสการพระปฐมเจดีย์
เป็นพระที่นั่งตึก ๒ ชั้น มีท้องพระโรง พลับพลากับโรงละคร ทั้งตำหนักเรือนจันทน์ฝ่ายใน
พระราชทานนามว่า พระนครปฐม ภายนอกพระราชวังมีโรงม้าโรงช้าง และตึกที่ประทับสำหรับเจ้านายและที่พักข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
เสด็จมาประทับแรมแต่ในรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อก่อนสร้างทางรถไฟหลายครั้ง
ต่อมาตึกและเรือนในบริเวณพระราชวังนครปฐมชำรุดจึงให้รื้อลงเสียส่วนใหญ่ ได้โปรดให้สร้างบริเวณพระปฐมเจดีย์ขึ้นเป็นเมือง
ตั้งที่ว่าการมณทลนครไชยศรี แล้วทำทางรถไฟผ่านไปทางนั้น
พระนครคีรี
พระนครคีรีก่อนการบูรณะ
|
พระนครคีรี เมืองเพชรบุรี
พระนครคีรี หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่า เขาวัง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.
๒๔๐๒ ปรากฎหลักฐาน ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์
(ขำ บุนนาค) และประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๕ ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ ให้เจ้า พระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหม
พระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ (ท้วม บุนนาค) ปลัดเมืองเพชรบุรีเป็นนายงาน
สร้างวังที่เขามหาสมณะ ซึ่งต่อมาพระราชทานนามใหม่ว่า เขามหาสวรรค์
(ปัจจุบันเรียกว่า เขามไหศวรรย์ ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษมในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี)
ในการสร้างพระนครคีรีนี้ ได้สร้างพระราชวังบนยอดเขาทั้ง ๓ ยอด โดยนำสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนีโอคลาสสิค
มาเป็นแบบอย่างในการก่อสร้าง แต่ฝีมือช่างปั้นมีอิทธิพลของสถาปัตยกรรมจีนปรากฎออกมา
เช่น
|
การปั้นสันหลังคา และกระเบื้องกาบกล้วย เป็นต้น การก่อสร้างเริ่มจากบนยอดกลาง
ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของวัดอินทคีรี มีเจดีย์เก่าทรุดโทรมมาก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ใหม่ทับองค์เดิมและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร
ยอดเขาด้านทิศตะวันออก เดิมมีศาลาไม้ของวัดสมณะซึ่งชำรุดทรุดโทรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดประจำพระราชวังบนพระนครคีรี คือวัดพระแก้ว มีพระอุโบสถประดับด้วยหินอ่อน
หลังคามุงกระเบื้องสี ใบระกาช่อฟ้า บราลีประดับกระจกฝีมือช่างหลวง หน้าบันปูนปั้นเป็นตราพระมหาพิชัยมงกุฏ
ซึ่งเป็นตราประจำรัชกาลที่ ๔ บริเวณวัดพระแก้วยังมีพระสุทธเสลเจดีย์ หอระฆัง
ศาลาและพระปรางค์ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "เจดีย์แดง"
ยอดเขาด้านตะวันตก เป็นส่วนที่ใช้ก่อสร้างพระราชวังซึ่งเป็นที่ประทับ มีหมู่พระที่นั่งหลายองค์
และอาคารต่างๆ ได้แก่พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์
พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรงมหรสพ หรือโรงโขน
ศาลาลูกขุน และอาคารอื่นๆ อีก
พระราชวังเมืองราชบุรี
การสร้างพระราชวังที่เมืองราชบุรี เนื่องจากมีพระราช ประสงค์จะทนุบำรุงหัวเมืองทางฝ่ายตะวันตกให้เจริญขึ้น
ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอำนวยการขุดคลองภาษีเจริญ และขุดคลองดำเนินสะดวก
ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ทำให้การค้าขายระหว่างเมืองราชบุรีกับพระนครสะดวกยิ่งขึ้น
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้เดินทางไปหัวเมืองราชบุรีหลายครั้ง ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเห็นควรว่าเป็นสถานที่เสด็จประพาสอีกแห่งหนึ่ง
จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาฯ (ช่วง บุนนาค) กับเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี
ซึ่งได้เคยอำนวยการสร้างพระนครคีรีที่เมืองเพชรบุรีมาด้วยกัน สร้างพระราชวังที่เมืองราชบุรีบริเวณพลับพลาเดิม
(พลับพลาแห่งนี้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จ
ประพาสหัวเมืองชายทะเล ในพ.ศ. ๒๓๙๘) อยู่ริมน้ำทางฝั่งตะวันตกริมแม่น้ำแม่กลองตรงข้ามกับตัวเมืองราชบุรี
สร้างพระที่นั่งเป็นตึกหลังใหญ่อยู่กลางหลังหนึ่ง แต่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ
ต่อมาโปรดให้ใช้เป็นโรงทหารระยะหนึ่ง แล้วพระราชทานให้เป็นที่สร้างสถานีตำรวจภูธร
(พระราชวังริมน้ำได้ถูกรื้อไปแล้ว)
ปี พ.ศ. ๒๔๑๓ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
(ช่วง) สร้างพระราชวังบนเขา สัตตนารถ (บางแห่งเรียกว่า สัตนาถ หรือเขาวัง)
เพื่อเป็นที่ประทับแรมเวลาเสด็จประพาสเมืองราชบุรี พระราชวังนี้สร้างบนยอดเขาขนาดย่อม
อยู่ทางฝั่งตะวันตก ห่างจากลำน้ำขึ้นไประยะทาง ๘๐ เส้น ได้ทำถนนและวางรางเหล็กสำหรับรถขนของตั้งแต่ริมน้ำขึ้นไปจนถึงเขาสัตตนารถ
สร้างพระตำหนักบนยอดเขา เนื่องจากบนเขานี้มีวัดเก่าอยู่แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างวัดใหม่ ถวายเป็นพระอารามหลวงที่ในตัวเมือง แล้วพระราชทานนามวัดนั้นว่า
วัดสัตตนารถฯ อันเป็นชื่อเดิมของวัดบนเขา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสไทรโยค เมื่อเสด็จกลับมาถึงเมืองราชบุรี
พอดีกับราชทูตโปรตุเกส เดินทางมาถึงพระนครทูลขอเฝ้าฯ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้กราบบังคมทูลขอให้เสด็จออกรับราชทูตโปรตุเกส
ที่พระราชวังบนเขาสัตตนารถนี้ จะได้เป็นการเฉลิมพระเกียรติเหมือนเมื่อครั้งสมเด็จ
พระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เสด็จออกรับ เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์
(Chevalier de Chaumont) ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส
ที่พระราชวังเมืองลพบุรี อีกประการหนึ่งท้องพระโรงที่นี่กว้างใหญ่เท่าที่พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญมหาปราสาท
ที่เมืองลพบุรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้รับรองคณะราชทูต เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๔๒๐
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จมาประทับที่วังแห่งนี้เพียงครั้งเดียว ต่อมาถูกทิ้งให้รกร้าง
จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้พระราชทานบริเวณนี้
ให้เป็นวิสุงคามสีมา ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม เรียกชื่อวัดว่า วัดเขาวังราชบุรี
|