พระบรมบรรพต วัดสระเกศ
วัดสัตตนารถปริวัตร
ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี ที่ตั้งเดิมเป็นวัดร้าง
อยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง มีชื่อวัดโพธิ์งาม หรือวัดกลางบ้าน (วัดโพธิ์งามนี้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โดยชาวไทยญวน ซึ่งอพยพจากเมืองเชียงรายมาอยู่ที่ราชบุรี) ในสมัยรัชกาล ที่
๕ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) และเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี
(ท้วม) หาที่สร้างพระราชวังที่เมืองราชบุรี และได้ทำการสร้างบนเขาสัตตนารถ
และบริเวณดังกล่าวมีวัดร้างบนเขาอยู่แล้ว รัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์จะให้มีการผาติกรรม
คือไถ่ถอนที่วัด เพื่อให้พ้นจากธรณีสงฆ์ สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงได้ดำเนินการตามพระราชประสงค์ฯ
ได้ปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์งามขึ้นใหม่ และอัญเชิญพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ จากวัดเขาสัตตนารถ
มาประดิษฐานที่วัดโพธิ์งาม และสร้างวิหารไว้หลังพระอุโบสถ พระราชทานนามวัดว่า
"วัดสัตตนารถปริวัตร" ซึ่งแปลว่า "เปลี่ยนไปจากเขา สัตตนารถ"
วัดสัตตนารถปริวัตร ได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
ทรง โปรดเกล้าฯ ให้พระครูศีลคุณธราจารย์ จากวัดโสมนัสวิหารไปเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่วัดนี้
วัดมหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี
วัดมหาธาตุวรวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของศาลากลาง จังหวัดราชบุรี ห่างประมาณ
๑ กิโลเมตร บนฝั่งตะวัน ตกของแม่น้ำแม่กลอง
เดิมเป็นวัดโบราณคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดราชบุรี สันนิษฐานว่าสร้างสมัยขอมเรืองอำนาจ
ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีพระปรางค์สร้างด้วยศิลาแลง ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
คนส่วนมากนิยมเรียกว่าวัดหน้าพระธาตุ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
โปรดให้ย้ายเมืองราชบุรีมาอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๐
เนื่องจากชัยภูมิดี เหมาะสำหรับจะรับทัพพม่า ประชาชนจึงย้ายถิ่นฐานตามตัวเมือง
วัดนี้จึงถูกทิ้งร้างไป
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เห็นว่าวัดนี้สภาพทรุดโทรมมากจึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถขึ้นใหม่
โดยมอบให้พระครูปลัดครื้น เจ้าอาวาสวัดช่องลม เป็นผู้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์
และให้เจ้าคุณจางวางกรับ ซึ่งเป็นนายช่าง สร้างมณฑปทางขวามือหน้าพระอุโบสถ
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ทางจังหวัดได้ให้กรมการ เมืองย้ายสถานที่ที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
จากวัดตาล (วัดอมรินทราราม) ไปกระทำพิธีที่วัดมหาธาตุวรวิหารแทน
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้เสนาบดีในสกุลบุนนาค
เป็นแม่กองอำนวยการสร้าง พระบรมมหาราชวัง พระราชวัง และพลับพลาที่ประทับหลายแห่ง
ทั้งยังให้เป็นแม่กองสร้างวัด และขุดคูคลอง ถนนสายต่างๆ ทั้งภายในพระนครและต่างจังหวัด
ซึ่งจะเรียบเรียงข้อมูลโดยสังเขปดังนี้
พระบรมบรรพต วัดสระเกศ
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่อย่างภูเขาทอง ที่พระนครศรีอยุธยา
แต่ตรงที่ก่อสร้างเป็นชายคลองมหานาค พื้นหินอ่อน การก่อสร้างพระเจดีย์ทรุดลงทุกครั้ง
จึงต้องหยุดการสร้างเจดีย์นั้นค้างอยู่เพียงฐานมาแต่รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา
(แพ บุนนาค) บุตรสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ผู้สร้างพระเจดีย์นั้นเมื่อรัชกาลที่
๓) เป็นแม่กองและพระยาราชสงครามเป็นนายช่าง ซ่อมแปลงพระเจดีย์ที่ค้างอยู่นั้นให้เป็นภูเขาโดยสร้างพระเจดีย์ไว้บนยอด
มีบันไดเวียนทางขึ้นไปได้ ๒ ทาง พระราชทานนามว่า บรมบรรพต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘
คนทั่วไปเรียกว่า ภูเขาทอง
วัดปทุมวนาราม
|
สระปทุมวันและวัดปทุมวนาราม
พ.ศ. ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
(ทัต บุนนาค) เป็นแม่กอง พระยาสามภพพ่าย (หมู) เป็น นายงาน จ้างจีนขุดสระปลูกบัวที่ท้องนาริมคลองบางกะปิ
บริเวณสระทำเป็นเกาะ ปลูกผักและพันธุ์ไม้ต่างๆ สร้างพระที่นั่งสำหรับประทับแรม
มีพลับพลา โรงละคร เรือนเจ้าจอม โรงครัว พร้อมทั้งสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วย
พระราชทานนามว่า วัดปทุมวนาราม
รัชกาลที่ ๔ ได้เสด็จมาประทับแรมเป็นครั้งคราว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าจอมลงพายเรือเก็บดอกบัวและพันธุ์ไม้ต่างๆ
ให้พระสงฆ์พายเรือเข้าไปรับบิณฑบาต มีขบวน แห่ผ้าป่าและเล่นเพลงสักวาดอกสร้อยเป็นที่สนุกสนาน
ปัจจุบันวัดปทุมวนารามที่สร้างครั้งนั้นยังอยู่ แต่สระปทุมวันที่เคยเป็นอุทยานนั้นกลายเป็นที่รกร้าง
ต่อมาได้มีการถมสระ ถมที่ สร้างศูนย์การค้าใหญ่ขึ้นแทน ปัจจุบันที่ดินบริเวณนั้นเป็นศูนย์การค้าเวิร์ลเทรดเซนเตอร์
|
พระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
พระสมุทรเจดีย์นั้นในรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์
เมื่อยังเป็นเจ้าพระยาพระคลัง เป็นแม่กองสร้างเป็นพระเจดีย์ไม้สิบสองอยู่กลางเกาะ
มีศาลาสี่ทิศ พ.ศ. ๒๔๐๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ โปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์
(ขำ บุนนาค) เป็นแม่กอง พระยามหาอรรคนิกร พระอมรมหาเดชเป็นนายงาน ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์
จัดซื้อศิลาถมขยายเกาะให้กว้างออกไป สร้างวิหารหลวงข้างด้านใต้พระเจดีย์
๑ หลัง สร้างหอระฆัง และปลูกต้นพระศรีมหาโพธิซึ่งได้เมล็ดมาจากพุทธคยา
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้สร้างศาลาด้านเหนือพระเจดีย์เพิ่มอีกหลังหนึ่ง
|
พระสมุทรเจดีย์
|
วัดเกาะสีชัง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์
(ขำ บุนนาค) เป็นแม่กอง สร้างวัด พระราชทานสำหรับพวกชาวเกาะจะได้ทำศาสนกิจ
สร้างพระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ที่บนเนินเขาตอนปลายแหลมด้านตะวันออก
ต่อมาได้ย้ายไปสร้างที่ใหม่บนทางเหนือของเกาะ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระราชทานนามว่า
วัดจุฑาทิศนธรรม
พระพุทธบาท พระนครศรีอยุธยา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ
(ทัต บุนนาค) เป็นแม่กอง รื้อเครื่องบนพระมณฑปใหญ่ที่ชำรุด ซ่อม แซมตัวไม้ใหม่
และให้สร้างศาลาที่พักของสัปบุรุษที่ท่าเรือ เป็นศาลาก่ออิฐถือปูน ๓ หลัง
ขุดบ่อน้ำทำศาลาเครื่องไม้ในระยะทางขึ้นพระบาทตั้งแต่บางโขมดจนถึงเขาตกหลายแห่ง
สร้างกุฎิสงฆ์ที่วัดท้ายพิกุล ๗ หลัง ในบริเวณ พระพุทธบาทสร้างโรงธรรม ๑
หลังและศาลาเก้าห้อง ๑ หลัง
ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ที่สมุหกลาโหม บูรณะตึกเก่าที่ริมบ่อโพง
๑ หลัง ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ) บูรณะโรงเครื่องริมประตูยักษ์ หลังหนึ่ง
และสร้างกุฎีสงฆ์ที่วัดท้ายพิกุลอีกหลังหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปยกยอดพระมณฑป
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓
|