พระนครคีรี
|
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๑
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้จัดการทูลเชิญพระบรมวงศานุวงศ์
พระราชาคณะที่เป็นพระราชวงศ์ เสนาบดีผู้ใหญ่ รวม ๒๐ ท่าน เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือที่จะทูลเชิญพระองค์ใด
ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวมิได้แต่งตั้งรัชทายาท
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ พระอนุชาในรัชกาลที่ ๔
ผู้ทรงอาวุโส ได้ตรัสว่า เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
กรมขุนพินิตประชานาถ แต่เนื่องยังทรงพระเยาว์อยู่ (ขณะนั้น ๑๕ พรรษา)
จะทรงปกครองบ้านเมืองไม่ได้ ที่ประชุมเห็นว่า ควรมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินบริหารประเทศไปพลางก่อน
จนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงบรรลุนิติภาวะ ดังนั้นที่ประชุมจึงลงมติเป็นเอกฉันท์
แต่งตั้งให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กล่าวในที่ประชุมว่า
|
จะรับสนองพระเดชพระคุณอย่างเต็มความสามารถแต่การพระราชพิธีต่างๆ
ท่านไม่สู้จะเข้าใจ ขอให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ช่วยว่าราชการในพระราชสำนักฝ่ายหน้า
สมเด็จกรมพระสุดารัตนราชประยูร ว่าราชการในพระราชสำนักฝ่ายใน การว่าราชการทุกครั้งจะมีเสนาบดี
และข้าราชการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ เป็นที่ปรึกษาพิเศษ และขอให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงวงศาธิราชสนิทซึ่งเป็นพระบรมวงศาชั้นผู้ใหญ่ ประทับเป็นที่ปรึกษาของท่านทุกครั้งด้วย
กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ยังตรัสต่อไปอีกว่า ทุกๆ
คนก็ยังระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ (สวรรคตปี พ.ศ. ๒๔๐๘)
ฉะนั้นการจะเชิญเสด็จพระโอรสองค์ใหญ่ พระองค์เจ้าชายยอดยิ่งยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ
ขึ้นเป็นพระมหาอุปราช (วังหน้า) เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้ถามความเห็นที่ประชุม
ทุกๆ พระองค์และทุกคนเห็นด้วยเว้นแต่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรฯ ไม่ทรงเห็นด้วยตรัสว่า
แต่ก่อนพระเจ้าแผ่นดินเคยทรงเลือกและทรงตั้งวังหน้าด้วยพระองค์เอง ปรากฏว่าเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ยืนยันจะให้พระโอรสสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
ได้เป็นวังหน้า และที่ประชุมส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นักประวัติศาสตร์ไทยถกกันมาบ่อยครั้ง
รวมถึงการทรงอำนาจของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์
ถนนเจริญกรุง
อย่างไรก็ตามในช่วงสมัยที่เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
ได้มีผลงานสำคัญคือ ตรากฎหมายลดอัตราดอกเบี้ย พ.ศ. ๒๔๑๑ จากเดิม ซึ่งคิดเป็นร้อยละ
๓๐ - ๔๐ หรือร้อยละ ๕๐ - ๖๐ ต่อปี ลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญที่ช่วยสกัดกั้นมิให้คนต้องกลายเป็นทาส
และมีการออกกฎหมายพยาน พ.ศ. ๒๔๑๓ เพื่อป้องกันมิให้ถ่วงคดี เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการขุดคลองเปรมประชากร
ขยายเขตกำแพงเมืองใหม่ สร้างตึกแถว และตลาดท่าเตียน ตัดถนนเฟื่องนคร เริ่มมีการใช้รถม้า
จัดตั้งระบบศาล และระบบกงสุลต่างประเทศ รวมทั้งจัดตั้งระบบโรงเรียน สมัยใหม่ขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง
ได้มีการจ้างชาวต่างประเทศเข้ารับราชการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐบาลไทยหลายคน
โคมไฟที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง)
ทูลเกล้าฯ ถวาย ให้ติดตั้ง
ในท้องพระโรงกลางพระที่นั่งจักรมหาปราสาท
|
ปี พ.ศ. ๒๔๑๖ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบรรลุนิติภาวะ
ในเวลานั้นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มีอายุได้ ๖๔ ปีเศษ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นับว่าเป็น
"สมเด็จเจ้าพระยา" คนสุดท้ายในประวัติศาสตร์ของไทย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาดในราชการแผ่นดิน
ทั้งในพระนครและทั่วพระราชอาณาจักร มีอำนาจเต็มที่ถึงขั้นสั่งประหารชีวิตผู้กระทำความผิดขั้นอุกฤษฎ์ได้
จะเห็นจากสำเนาประกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ตั้งให้ท่านเป็นสมเด็จเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ ที่สำคัญคือ
"เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์... ได้รับราชการฉลองพระเดชพระคุณในแผ่นดินแต่ในรัชกาลที่
๒ ที่ ๓ และที่ ๔ มาช้านาน ได้มีคุณูปการในภารกิจใหญ่น้อยเป็น อันมาก
ได้ทนุบำรุงพระราชอาณาจักรสยาม อุดหนุนกระแสพระราชดำริ มิให้เพลี่ยงพล้ำต่ออริราชดัสกรภายในภายนอก
พวกที่คิดจะเบียดเบียนกรุงเทพมหานคร โดยอำนาจให้เสื่อมถอยน้อยกำลังสงบไปได้โดยยุติธรรม
และจัดการแผ่นดินให้ผาสุกเป็นปรกติเรียบร้อยดี มิได้มีวิหิงษา อุปัทวาการอันใดอันหนึ่ง
ครั้นถึงในรัชกาลปัจจุบันนี้ ได้รับตำแหน่งที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
ฉลองพระเดช พระคุณโดยอัธยาศัยเที่ยงธรรมซื่อตรง มิได้เห็นแลเกรงแก่ผู้ใด
จะกล่าวตัดสินการใดจะให้เป็นคุณประโยชน์ทั่วกัน และเป็นแบบอย่างต่อไปภายหน้าสิ้นกาลนาน...
ดำรงอยู่ในธรรมสัตย์สุจริตหาผู้เสมอมิได้ สมควรจะเป็นผู้รับบรมราชอิสริยยศ...
จึงมีพระบรมราชโองการเลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์...
บรรดาศักดิ์ ๓๐๐๐๐ ยิ่งกว่าจตุสดมภ์มนตรี ๓ เท่า ดำรงตรามหาสุริยมณฑล
ได้บังคับบัญชาสิทธิ์ ขาดราชการแผ่นดินในกรุงนอกกรุง ทั่วพระราช
อาณาจักร..."
|
พัดรองที่ระลึกในการเมรุ
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
นมพัดด้านหน้าเป็นรูปบุคคล ซึ่งน่าจะเป็น
สัญญลักษณ์แทนรูปพระอาทิตย์ ด้านหลังเป็นตราราชสีห์
|
ดารามหาสุริยมณฑล
|
สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
|
|
|
|
|
|
|