|
|
(7) ๖:ท:11:4:1 บุตรเจ้าพระยาพิชัยญาติ
(ดั่น) มารดาชื่อ ยิ้ม (สกุลเดิม หลิมไชโห) เกิด พ.ศ. ๒๔๕๙ จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์
สอบได้รับพระราชทานทุนเล่าเรียนหลวง (King's Scholarship) ไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์
ที่ประเทศอังกฤษ พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้รับปริญญาตรี B.Sc. (Special) ทางเคมี
และ A.R.C.S. (Chemistry) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐
พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับปริญญาโททางเคมี และได้ D.I.C. (Advanced Study in
the Chemistry of Foods and Drugs) เข้ารับราชการที่กรมวิทยาศาสตร์
กระทรวงการเศรษฐกิจ พ.ศ. ๒๔๘๔ ทำงานในตำแหน่ง นักเคมีโท แผนกโอสถสาร
กองอุตสาหกรรมเคมี กรมวิทยาศาสตร์ ต่อมาย้ายมาอยู่แผนกอาหาร กองอุตสาห-
กรรมเคมี พ.ศ. ๒๔๘๖ - ๒๔๙๖ เป็นนักวิทยาศาสตร์เอก ประจำกองต่างๆ ได้แก่
สถานศึกษาเคมีปฏิบัติ กอง ค้นคว้าอุตสาหกรรม กองอุตสาหกรรมเคมี และกองการวิจัย
พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๐๖ เป็นรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ ผู้ควบคุมและที่ปรึกษากองการวิจัยระหว่างรับราชการ
ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร กระทรวงกลาโหม ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรและเข็มวิทยฐานะ
(รุ่นที่ ๒) ได้รับวุฒิบัตรนักบริหาร (Executive Development) รุ่นที่
๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ต่อมาเป็นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหิดล)
แล้วเป็นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ และผู้อำนวยการสถานศึกษาเคมีปฏิบัติกรมวิทยาศาสตร์
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๑๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
(พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๙) และได้รับเภสัชศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔
|
ส่วนราชการพิเศษที่สำคัญได้แก่ เป็นกรรมการร่างและปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ
ควบคุมคุณภาพอาหาร พระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ กำหนดคุณภาพมาตรฐานอาหารกระป๋อง
กระทรวงสาธารณสุข กรรมการพิจารณาเรื่องอุตสาหกรรมน้ำนม และเรื่องการจัดตั้งนิคมวัวนม
กระทรวงเกษตร กรรมการมาตรฐานสินค้ากระทรวงเศรษฐการ กรรมการโรงงานน้ำตาล โรงงานกระสอบ
โรงงานกระดาษ กระทรวงอุตสาหกรรม และเป็นกรรมการ บริหารสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(๒๕๒๑) เป็นต้น นอกจากนี้ได้ไปประชุมและดูงานอีกหลายประเทศในด้านการควบคุมคุณภาพอาหาร
และอุตสาหกรรมเคมี
ศาสตราจารย์ยศ บุนนาค เป็นอาจารย์สอนวิชาอาหาร-เคมี วิชาอนินทรีย์เคมีชั้นสูง
ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะเภสัชศาสตร์ มหา วิทยาลัยแพทยศาสตร์
(มหิดล) ได้เขียนตำราและบทความทางวิชาการลงหนังสือหลายเล่ม ในเรื่องเกี่ยวกับอินทรีย์เคมี
และอาหารในชีวิตประจำวันอีกด้วย
ตำแหน่งทางการเมืองที่สำคัญได้แก่ เป็นปลัดกระทรวงผู้ใช้อำนาจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ - ๑๙ ธันวาคม ๒๕๑๕) เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติสมัยที่
๑ และเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๖ และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติฯ
สมัยที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๘
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดที่ได้รับพระราชทานได้แก่ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
มหาวชิรมงกุฎ และ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ศาสตราจารย์ยศ บุนนาค สมรสกับคุณหญิงนบน้อม
(สกุลเดิม อักษรานุเคราะห์) มีบุตรชื่อ รองศาสตราจารย์นายแพทย์เยี่ยมมโนภพ
บุนนาค นับเป็นลำดับชั้นที่ ๗
|
หน้า 91
|
|
สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
|
|
|
|
|
|
|