|
|
(8) ๓:ด เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี
มีนามว่า ท้วม เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๓ เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์
(ดิศ) กับหม่อมพึ่ง ธิดาเจ้าพระยาพลเทพ (บุญนาก บ้านแม่ลา) เข้ารับราชการในรัชกาลที่
๔ เป็นนายไชยขรรค์ หุ้มแพรมหาดเล็ก แล้วเป็นจมื่นทิพรักษา และจมื่นราชามาตย์
ปลัดกรมพระตำรวจในซ้าย ตามลำดับ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี
ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ ซึ่งมีพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค)
เป็นราชทูตนั้น จมื่นราชามาตย์ (ท้วม บุนนาค) ได้ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ
ที่จะนำไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย เมื่อกลับมาแล้ว โปรดเกล้าฯ
ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรี
ได้เป็นแม่กองคุมการก่อสร้างพระนครคีรี ที่เขาวัง จังหวัดเพชรบุรี
ได้สร้างสะพานช้างข้ามแม่น้ำเพชรบุรี สร้างถนนจากเขาวังไปเขาหลวง และถนนราชวิถี
เป็นต้น
การสร้างพระราชวังพระนครคีรีนั้น ได้จำลองแบบ อย่างมาจากพระบรมมหาราชวัง
และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์มีนามว่า พระสุทธเสลเจดีย์ กับให้บูรณะพระเจดีย์องค์เก่าให้สวยงาม
ได้พระราชทานนามว่า พระธาตุ จอมเพชร พระเจดีย์องค์นี้มีรูปปั้นของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่ด้วย
|
ต่อมาพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือถึงอนิจกรรมลง
รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระเพชรพิไสยฯ เป็นพระยาเทพประชุน
ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกรมกลาโหม แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปราชการเรื่องสายโทรเลข
ที่เมืองสิงคโปร์และเมืองภูเก็ต เมื่อกลับเข้ามาพระนคร โปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่กองการทำพลับพลาค่ายหลวงที่ว่าการแขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์
เพื่อเสด็จประทับทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ในปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๑๑ ครั้งนั้นได้ตามเสด็จฯ
ได้ป่วยเป็นไข้ป่า (มาเลเรีย) อาการหนัก และหายจากไข้ได้ในเวลาต่อมา
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ พระยาเทพประชุน
(ท้วม บุนนาค) ปลัดทูลฉลองกรมกลาโหม ทำหน้าที่กราบทูลพระกรุณามอบถวายสรรพสิ่งซึ่งเป็นเครื่องประดับพระบรมราชอิสริยยศ
และราชสมบัติทั้งปวงตามพระราชประเพณีแทน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
๕
พ.ศ. ๒๔๑๒ ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ตำแหน่งเสนาบดีกรมพระคลัง
และกรมท่า ทั้งว่าการต่างประเทศด้วย พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างชุดนี้ขึ้นและพระราชทานเป็นครั้งแรกให้แก่เสนาบดีชั้นเจ้าพระยา
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ถ่ายเมื่อเป็น
พระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรี
|
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เสนาบดีกรมท่าหรือเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
|
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ ได้มีประกาศพระราชบัญญัติตั้งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น
แยกราชการฝ่ายการคลังออกจากกระทรวงการต่างประเทศ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี
เป็นเสนาบดีคนแรกของกระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘ และทางกระทรวงการต่างประเทศถือว่าวันที่
๑๔ เมษายน เป็นวันสถาปนากระทรวงการต่างประเทศ
ภายหลัง เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯ มีโรคภัยเบียดเบียน จึงกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีว่า
การต่างประเทศ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๘ ท่านถึงอสัญกรรม เมื่อ
พ.ศ. ๒๔๕๖ อายุ ๘๓ ปี
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) สมรสกับคุณหญิงสุ่น มีบุตร
๒ คน ได้แก่ พระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ) และพระยาราชานุประพันธ์ (ทุ้ย)
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีบุตรธิดากับภรรยาอื่น ที่สำคัญ ได้แก่
- พระยาราชานุประพันธ์ (เปีย) ในรัชกาลที่ ๖
- พระยาไกรสีห์ (เทียม) ในรัชกาลที่ ๕
- พระยาจำนงดิฐการ (เทพ) ในรัชกาลที่ ๖
- พระยาธรรมสารเนติ (ถึก) ในรัชกาลที่ ๖
- หลวงเทพประกาศ (ทิว) ในรัชกาลที่ ๖
- พระศรีธรรมสาส์น (แทน) ในรัชกาลที่ ๖
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดีมีบุตรธิดารวม ๒๕ คน เป็นชาย ๑๗ คน หญิง
๘ คน นับเป็นลำดับชั้นที่ ๔
|
หน้า 10
|
|
สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
|
|
|
|
|
|
|