พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงตัดผม ม.ร.ว. เดชนศักดิ์ โอรสของพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ และหม่อมมณี
(๖) ๕:ด:8:4 ธิดาพระยาราชานุประพันธ์
(เปีย บุนนาค) ราชทูตไทยประจำราชสำนักเซนต์เจมส์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มารดาชื่อ
ดอรีส (สกุลเดิม วินดั้ม) คุณหญิงมณีเป็นหลานปู่ของเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี
(ท้วม บุนนาค) เกิด พ.ศ. ๒๔๕๗ ที่ประเทศอังกฤษ มีพี่ชายร่วมบิดามารดา ๑ คน
ชื่อ อุทัย
พ.ศ. ๒๔๖๐ เมื่อพระยาราชานุพันธ์ (เปีย บุนนาค) พาครอบครัวกลับประเทศไทย
ได้พักอาศัยอยู่ที่บ้านที่ได้รับพระราชทาน ที่ถนนสี่พระยา ซอยแพรกบ้านใน
หลังวัดมหาพฤฒาราม (วัดตะเคียน) คุณหญิงมณีได้เข้าเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ
เรียนชั้นประถมได้ ๓ ปี บิดาให้ลาออกมาเรียนที่บ้านกับมารดา ได้เรียนรู้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
หลังจากท่านบิดาถึงแก่กรรม ได้เข้าเรียนต่อเป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนเซนต์แมรี่
เอส.พี.จี. (Society for the Propagation of the Gospel) ซึ่งเป็นโรงเรียนมิชชั่นนารี
นิกายโปรแตสแตนท์ มีอาจารย์ใหญ่เป็นชาวอังกฤษ เมื่อเรียนจบชั้นมัธยม ศึกษาแล้ว
ได้สอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย เรียนได้เพียง ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘ สอบชิงทุนของ ก.พ. (คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน)
ในแผนกอักษรศาสตร์ ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ และสอบเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
เรียนที่มหาวิทยาลัยได้ ๒ ปี ต้องลาออกเข้าพิธีสมรสกับพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาตศักดิเดชน์
ภานุพันธ์ ใน พ.ศ. ๒๔๘๐ ต่อมามีบุตร ๒ คน คือ หม่อมราชวงศ์เดชนศักดิ์ ศักดิเดชน์
และหม่อมราชวงศ์ทินศักดิ์ ศักดิเดชน์ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ
ทำงานกับบริษัท A.T.A. ทำหน้าที่ขับเครื่องบิน และเป็นเสรีไทยในประเทศอังกฤษอีกด้วย
พระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ สิ้นชีพตักษัยเนื่องจากทรงขับเครื่องบิน และเครื่องตกที่ประเทศสก๊อตแลนด์ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติหน้าที่
หม่อมมณีได้เข้าพิธีสมรสใหม่กับพระองค์เจ้าอาภัสสรวงษ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ
มีธิดา ๑ คน ชื่อ หม่อมราชวงศ์อรมณี ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ พระองค์เจ้าอาภัสสรวงษ์ได้พาครอบครัวกลับประเทศไทย
คุณหญิงมณี สิริวรสาร
|
พระองค์เจ้าอาภัสสรวงษ์ และพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ สุประภาต เป็นโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์
ซึ่งเป็นพระอนุชาร่วมพระมารดาเดียวกับสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๕ สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ได้อภิเษกสมรสกับหม่อมแม้น
(สกุลเดิม บุนนาค) น้องร่วมบิดามารดากับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ)
และเจ้าจอมมารดาโหมด ซึ่งท่านเป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์
(วร บุนนาค) กับท่าน ผู้หญิงอิ่ม หม่อมแม้นมีพระโอรสและพระธิดารวม
๓ พระองค์ พระธิดาองค์เล็กพระนามว่า พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรมงคล
หม่อมแม้นถึงแก่กรรมแต่ยังสาว สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ มีชายาใหม่อีกหลายท่าน
หม่อมสุดท้ายคือ หม่อมเล็ก (สกุลเดิม ยงใจยุทธ) ซึ่งมีพระโอรสและพระธิดา
ได้แก่ พระองค์เจ้าหญิงรำไพประภา พระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ พระองค์เจ้านรเศรษฐสุริยศักดิ์
และพระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต หม่อมเล็กถึงแก่กรรม ขณะคลอดพระธิดาองค์เล็ก
และสิ้นชีพไปพร้อมกัน ดังนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ ได้ส่งพระองค์เจ้า
อาภัสสรวงศ์ไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่พระชนม์ ได้ ๙ ชันษา ส่วนพระองค์เจ้าจิรศักดิ์ฯ
นั้นทรงนำไปถวายตัวแด่สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ตั้งแต่
๘ ชันษา ได้ประทานพระอนุญาตให้ใช้ราชทินนาม "ศักดิเดชน์"
ต่อท้ายนาม
|
เมื่อหม่อมมณีกลับมาอยู่ประเทศไทย ได้ไปทำงานในตำแหน่งอาจารย์พิเศษสอนภาษาอังกฤษที่คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามคำเชิญชวนของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร
ซึ่งเป็นอาจารย์หัวหน้าภาควิชาในขณะนั้น หลังจากหย่ากับพระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์แล้ว
จึงลาออกจากอาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มาสร้างบ้านหลังใหม่อยู่ที่ถนนเพลินจิต
รับงานแปลบทความภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษให้กับสำนักงานข่าวสารอเมริกัน
ต่อมาได้กลับไปพักที่ประเทศอังกฤษเพื่อเยี่ยมมารดาและบุตรที่ศึกษาอยู่ที่นั่น
ได้ทำงานในตำแหน่งหัวหน้าแผนกส่งวิทยุกระจายเสียงภาคภาษาไทยให้สถานีวิทยุบีบีซี
อยู่ประมาณ ๑ ปี จึงกลับเมืองไทย พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้เข้าพิธีสมรสใหม่กับพลตรี
นายแพทย์ปชา สิริวรสาร และใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันถึง ๒๓ ปี จนนายแพทย์ปชาถึงแก่กรรม
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖
คุณหญิงมณีและนายแพทย์ปชา ได้บริจาคทรัพย์สร้างตึกผู้ป่วยด้วย โรคหู คอ
จมูก เป็นอาคาร ๔ ชั้น มีห้องผ่าตัดทันสมัย มอบให้แก่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
และได้ขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้ชื่อตึกว่า "ตึกศักดิเดชน์"
ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จฯ มาทรงทำพิธีเปิดตึกนี้
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ต่อมาได้บริจาคทรัพย์ส่วนหนึ่งร่วมสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระปกเกล้าฯ
ที่จังหวัดจันทบุรี และมอบเงินให้แก่กรมแพทย์ทหารบก จำนวน ๑ ล้านบาทเป็นทุนจัดตั้งมูลนิธิ
"ศักดิเดชน์" เพื่อจัดหาเครื่องมือแพทย์และใช้ในการดูแลบำรุงรักษาอาคารด้วย
จัดตั้งมูลนิธิถวายไว้ที่วัดราชบพิธ เพื่อใช้ดอกผลเป็นปัจจัย ๔ ถวายพระสงฆ์โดยสมทบทุนทุกปี
ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
นอกจากนี้คุณหญิงมณี ยังได้ช่วยงานด้านสังคมสงเคราะห์ตามสมาคมสตรีต่างๆ
และเป็นกรรมการ อยู่หลายสมาคม ทั้งยังช่วยหาเงินปลูกสร้างอาคารให้กับมูลนิธิสตรีอุดมศึกษาจนเป็นผลสำเร็จและยังใช้เป็นอาคารที่ทำงานของมูลนิธิฯ
และสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
คุณหญิงมณี สิริวรสาร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้า
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒
ถึงแก่อนิจกรรม พ.ศ. ๒๕๔๒ อายุ ๘๕ ปี
|
หน้า 56
|
|
สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
|
|
|
|
|
|
|