|
(1) ๕:ด:1:1 บุตรคนโตของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์
(วร) กับท่านผู้หญิงอ่วม เข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นจางวางมหาดเล็ก
ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิศักดิ์ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารเรือ
ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เมื่อ
พ.ศ. ๒๔๒๒
พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค) มีบุตรธิดารวม ๑๓ คน
บุตรได้แก่ พระยาประภากรวงศ์ (ว่อง บุนนาค) หลวงชลาลัยไกยกล (ใจ)
พระยานิพัทธกุลพงศ์ (ชิน) และหลวงประสิทธิราชศักดิ์ (ไชย) มีธิดาที่รับราชการฝ่ายในได้แก่
เจ้าจอมอบ ในรัชกาลที่ ๕ คุณเชย รับราชการฝ่ายใน ต่อมาลาออกจากราชการและสมรสกับหลวงอมรศักดิ์ประสิทธิ
(อัด) บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร) นอกจากนี้ท่านยังมีธิดาอีกหลายคน
ธิดาชื่อ จวง เป็นภรรยานายพลพ่าย (ชวน โกมารกุล ณ นคร) ธิดาชื่อ
คุณหญิงแช่ม เป็นภรรยาเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) ธิดาชื่อ
คุณหญิงชม เป็นภรรยาพลโทพระยาสีหราชฤทธิไกร (ชวย ฉัตรกุล ณ อยุธยา)
และธิดาชื่อ คุณหญิงเลี่ยน เป็นภรรยาพระยาวทัญญูวินิจฉัย (หม่อมหลวงชุ่ม
ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา)
|
|
(2) ๕:ด:1:1 เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์
(โต) เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔ เป็นบุตรคนที่สองของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์
(วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอ่วม เป็นน้องชายพระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี
(ชาย) สำเร็จการศึกษาวิชานายร้อยทหารปืนใหญ่ จากประเทศอังกฤษ เริ่มเข้ารับราชการ
ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๑ ได้เป็นที่พระอมรวิสัยสรเดช ตำแหน่งนายพันตรี
ผู้บังคับกรมทหารปืนใหญ่ญวน ซึ่งได้จัดตั้งตามแบบเก่ามาแต่ครั้งรัชกาลที่
๔ ท่านได้ใช้ความรู้และความสามารถ ปรับปรุงให้กรมทหารปืนใหญ่เข้าระเบียบแบบแผนอย่างใหม่
มีประสิทธิภาพและสมรรถภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม ในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ เจ้า พระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์
(โต บุนนาค) และเจ้าพระยา บดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล)
ได้นำทหารขึ้นไปปราบฮ่อที่ทุ่งเชียงคำในแขวงเมืองพวน
พ.ศ. ๒๔๓๑ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมยุทธนาธิการ บัญชาการกรมทหารบก
และทหารเรือรวมกัน ในปีต่อมา กรมยุทธนาธิการได้จัดตั้งโรงเรียนนายร้อยขึ้น
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ เวลานั้นเป็นนายพลตรี
พระยาสีหราชเดโชชัย ย้ายจากกรมทหารปืนใหญ่มาเป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อย
โปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงออกไปราชการเกี่ยวกับเรื่องการพาดสายโทรเลข
ที่เมืองสิงคโปร์และเป็นข้าหลวง ใหญ่รักษาการชายทะเลฝั่งตะวันตก
ต่อมาได้ออกไปปราบปรามพวกอั้งยี่ที่ตำบลดอนกระเบื้อง แขวงเมืองราชบุรี
|
ในด้านเกี่ยวกับต่างประเทศ พระยาสีหราชเดโชชัย ได้เป็นอุปทูตไปเจริญทางพระราชไมตรี
ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสยุโรป
พ.ศ. ๒๔๔๐ และใน พ.ศ. ๒๔๕๐ พระยาสีหราชเดโชชัย ได้รับตำแหน่งเป็นนายพลราชองครักษ์ตามเสด็จอย่างใกล้ชิดทั้ง
๒ ครั้ง หลังจากที่เสด็จกลับจากประพาสประเทศต่างๆ ในยุโรป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็นสมุหราชองครักษ์ และพระราชทานยศเป็นนายพลโท
พ.ศ. ๒๔๔๓ โปรดเกล้าฯ เลื่อนพระยาสีหราชเดโชชัยขึ้นเป็นเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์
ด้วยทรงเห็นว่าพระยาสีหราชเดโชชัยประกอบไปด้วยความรู้ในการฝ่ายทหาร อันได้เรียนมาโดยชำนิชำนาญ
กิริยาอัธยาศัยเป็นที่สรรเสริญของนานาประเทศ รอบรู้ในหน้าที่ราชกิจ อันเป็นตำแหน่งของตน
และมีความอุตสาหะจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ให้ประจำรักษาพระองค์อยู่เนืองนิตย์
เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย อนึ่ง ก็เป็นผู้สืบเนื่องมาในตระกูลใหญ่อันได้รับราชการแผ่นดิน
มีความชอบมาแต่ก่อนเป็นอันมาก ควรที่จะได้มียศบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาผู้หนึ่งได้....
![](images/history/122-2.jpg)
เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ กับท่านผู้หญิงตลับ
|
![](images/history/122-1.jpg)
รัชกาลที่ ๕ ทรงฉายกับเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์
|
เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) มีบุตรธิดารวม ๒๗ คน นับเป็นลำดับชั้นที่
๖ ท่านได้สมรสกับท่านผู้หญิงตลับ ธิดาพระสุพรรณสมบัติ (ถมยา โอสถานนท์) มีบุตรธิดาได้แก่
พระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต็น) พระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม) พันตำรวจตรีพระอดิศักดิ์อภิรัตน์
(เต็มสุรวงศ์) และท่านเจ้าจอมเลียมในรัชกาลที่ ๕ เป็นต้น มีบุตรธิดาที่เกิดกับภรรยาอื่น
ได้แก่ พระยาชัยสุรินทร์ (ตาล) พระยาสุพรรณสมบัติ (ติน) พระยาอภิบาลราชไมตรี
(ต่อม) และพระยาสุริยานุวงษ์ประวัติ (เต๋า) เป็นต้น ธิดาได้แก่ คุณหญิงประภากรวงศ์
(เรียบ บุนนาค) คุณหญิงโภช ภรรยาพระยาอร่ามมณเฑียร (เอื้อม บุนนาค) หม่อมชื้น
ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธ์กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
หม่อมชั้นและหม่อมฟื้น ในหม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ และหม่อมดำริห์ในหม่อมเจ้าสิทธิยากร
วรวรรณ เป็นต้น
เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นที่
๑ (ปฐมจุลจอมเกล้าในปัจจุบัน) เหรียญดุษฎีมาลา เป็นราชการในพระองค์ เหรียญอื่นๆ
ในการพระราชพิธีต่างๆ และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากต่างประเทศด้วย ท่านถึงอสัญกรรม
พ.ศ. ๒๔๕๒ ในระหว่างตามเสด็จประพาสเพชรบุรี รวมอายุ ๕๘ ปี
![](images/history/122-3.jpg)
บ้านของเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์
![](images/back1-1.gif) |
หน้า 42
|
|
สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
|
|
|
|
|
|
|