|
(๑) ๗:ด:1:1:2:2 ธิดาพลตรีพระยาสุรวงศ์วิวัฒน์
(เตี้ยม บุนนาค) กับหม่อมหลวงวงศ์ (ราชสกุล ฉัตรกุล) เกิด พ.ศ. ๒๔๕๑
สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม ๘ จากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ต่อมาได้รับพระราชทานทุนส่วนพระองค์
ของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ไปศึกษาวิชาแพทย์ที่ประเทศฟิลิปปินส์
ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ กลับมาเป็นศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สภากาชาดไทย
ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒๔๘๒ ได้รับทุน Alexander Von Humboldt ไปศึกษาวิชารังสีวิทยากับ
Professor Werner Knothe และ Professor Frik ณ เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อสำเร็จการศึกษากลับมาปฏิบัติงานเป็นรังสีแพทย์ ประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สภากาชาดไทย
เมื่อมีการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แพทย์หญิงตวันสุรวงศ์
บุนนาค ได้เป็นอาจารย์ทำการสอนนักศึกษาแพทย์ตั้งแต่รุ่นแรก โดยเปลี่ยนชื่อแผนกของ
"หมวดแสงรัศมี" เป็น "แผนกรังสีวิทยา"
|
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับทุนขององค์การ MSA (Mutual Security Agency) ไปศึกษาและปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล
Bellevue เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา ๑ ปี และสอบได้ประกาศนียบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญทางรังสีวิทยา
จาก The American Board of Radiology เมื่อกลับมาประเทศไทย ได้ดำเนินการขอความร่วมมือจากองค์การ
MSA จัดหาเครื่องมือที่ได้มาตรฐานสำหรับการตรวจทางรังสีวินิจฉัย ให้กับแผนกรังสีวิทยา
ทั้งยังเป็นผู้นำวิธีการการตรวจทางระบบทางเดินอาหาร โดยการทำ Fluoroscopy และการถ่ายภาพรังสีด้วย
Spot Film มาใช้ในประเทศไทย พร้อมๆ กับวิธีการตรวจถุงน้ำดีโดยใช้สารทึบแสง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกรังสีสืบต่อจากศาสตราจารย์หลวงพิณพาทย์พิทยาเภท
และในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ในวิชารังสีวิทยา ปฏิบัติงานตลอดมาจนเกษียณอายุราชการในปี
พ.ศ. ๒๕๑๑
ศาสตราจารย์แพทย์หญิง ท่านผู้หญิงตวันสุรวงศ์ บุนนาค เป็นผู้มีความรู้ความสามารถอย่างมากในทางวิชาการ
ได้พัฒนาแผนกรังสีวิทยาให้มีความก้าวหน้าทั้งด้านวิชาการ เครื่องมือแพทย์
และบุคคลากรที่มาดำเนินการเป็นรังสีแพทย์ ท่านเป็นผู้เริ่มงานรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยการใช้แร่เรเดียม
เป็นผู้ให้จัดทำ Angiography ให้ผู้ป่วยได้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งเวชศาสตร์นิวเคลียร์ขึ้น
ซึ่งจัดอยู่ในระดับมาตรฐานโลก
พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย และทำงานให้กับสมาคมตลอดมาโดยเป็นประธานแผนกวิชาการ
นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลก ในด้าน Medical Radiation
Physics งานในด้านสาธารณกุศล ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการกองบรรเทาทุกข์และอนามัยของสภากาชาดไทย
จัดตั้งหน่วยเอ็กซเรย์เคลื่อนที่เพื่อออกปฏิบัติการในชนบท
พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้รับพระราชทานปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์กิตติคุณ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.
๒๕๒๔
ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอม เกล้าวิเศษ และทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
นับเป็นเกียรติ ประวัติอย่างสูง
|
หน้า 101
|
|
สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
|
|
|
|
|
|
|