(5) ๕:ด:2:5 พระยาอมรฤทธิธำรงค์
(บุญชู) เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ เป็นบุตร พระศรีธรรมสาส์น
(เชย บุนนาค) กับท้าวราชกิจวรภัตรศรีสวัสดิ์รสาหาร (ปุย บุนนาค) ธิดาพระยามนตรีสุริยวงศ์
(ชุ่ม บุนนาค) ถวายตัวเป็นมหาดเล็กอยู่ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เมื่อเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นนายจำนงค์ราชกิจ
เป็นหลวงมหาสิทธิโวหาร และเป็นพระยาราชสาส์นโสภณ ในกรมมหาดเล็ก
โปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาอมรฤทธิธำรงค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดตะกั่วป่า
ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า (พานทอง) เมื่อ
พ.ศ. ๒๔๖๓ ถึงอนิจกรรมในรัชกาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๗๑ อายุ ๔๕ ปี
สมรสกับคุณหญิงชุมนุม บุนนาค ต.จ. ธิดาพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)
มีบุตรธิดา ๖ คน นับเป็นชั้นที่ ๖ บุตรได้แก่ ชงัด ชัชวาลย์ และชาญเวช
(1) ๕:ด:2:6 บุตรพระยาไกรเพชรรัตนสงคราม
(แฉ่) กับคุณหญิง ฟอง ธิดาพระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) เกิด
พ.ศ. ๒๔๑๓ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อเยาว์วัยได้ไปศึกษาที่เกาะปีนัง และที่ประเทศอังกฤษ
เมื่อสมัยที่ท่านบิดาเป็นอุปทูตประจำอยู่ที่กรุงลอนดอน เข้ารับราชการในตำแหน่งล่าม
กรมรถไฟหลวง แล้วย้ายไปอยู่กรมป่าไม้ ต่อมาเป็นเลขานุการสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์และมณฑลราชบุรี
ซึ่งท่านบิดาดำรงตำแหน่งสมุหเทศา ภิบาลในขณะนั้น
พ.ศ. ๒๔๔๘ ไปเป็นล่ามต่างประเทศประจำอยู่ที่มณฑลภูเก็ต ประมาณ ๕ ปี เมื่อสุขภาพไม่สมบูรณ์จึงลาออกจากราชการกลับมาอยู่กรุงเทพฯ
ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.๒๔๕๓ อายุ ๔๐ ปี
สมรสกับ ทองสุก มีบุตรธิดา ๙ คน บุตรได้แก่ ชะ เสวกตรีนายลิขิตสารสนอง (ชัพน์)
ชิวห์ ฉุน และเฉียบ มีธิดาชื่อ ชิ้ม เป็นภรรยาพระดุลยกรณพิทารณ์ (เชิด บุนนาค)
ธิดาชื่อ เฉียด เป็นภรรยานายเฉิด บุนนาค เป็นต้น
(๖) ๕:ด:2:6 ธิดาพันเอก พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม
(แฉ่ บุนนาค) ท.จ. กับคุณหญิงนิ่ม ต.จ. เกิด พ.ศ. ๒๔๓๘ เมื่อเยาว์วัยบิดาได้นำเข้าถวายตัวเป็นข้าหลวงสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
ได้รับพระราชทานส่งเข้าศึกษาที่โรงเรียนราชินีจนจบมัธยมศึกษา แล้วได้เป็นครูที่โรงเรียนราชินีอยู่ระยะหนึ่ง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวงเสด็จเข้าประทับ ณ พระราชวังพญาไท เมื่อ ๒๖ มีนาคม
๒๔๕๓ ได้ทรงเลือกข้าหลวงรุ่นใหญ่ (อายุ ๑๗ - ๑๘ ปีขึ้นไป) จากกุลสตรีผู้เป็นธิดาในตระกูลต่างๆ
รวม ๑๔ ท่าน อยู่ในสกุลบุนนาค ๓ ท่าน คือ คุณเฉื่อย บุนนาค ธิดาพระศรีธรรมสาส์น
(เชย) กับท้าวราชกิจวรภัทร (ปุย) คุณเนือง และคุณสุทธศรี บุนนาค ธิดาพระยาไกรเพชรรัตนสงคราม
(แฉ่) กับคุณหญิงนิ่ม คุณข้าหลวงทั้ง ๑๔ ท่านนี้เป็นข้าหลวงที่ขึ้นรับใช้ในห้องพระบรรทม
มีหน้าที่เข้าเวรรับราชการเฉพาะพระองค์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเฝ้าอารักขาพยาบาลสนองพระราชกิจส่วนพระองค์ทุกประการ
ทั้ง ๑๔ ท่านอยู่ในความดูแลของคุณท้าวสมศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์ปุย มาลากุล)
ซึ่งเป็นนางสนองพระโอษฐ์ หัวหน้าห้องพระบรรทม
คุณเนือง รับราชการในพระองค์สมเด็จพระพันปีหลวง จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่
๒๐ ตุลาคม ๒๔๖๒ ณ พระราชวังพญาไท คุณเนืองขึ้นชื่อว่าเป็นคุณข้าหลวงที่ทรงโปรดมาก
ได้รับพระราชทานเสมารูปไข่โปร่งมีพระนามย่อ "ส.ผ." มีรัศมีฝังเพ็ชรล้อมเป็นชั้นที่
๑ และเข็มกลัด "เสาวภา" พระนามเต็ม ทองคำลงยาสีน้ำเงินในฐานะเป็นผู้เรียนดีและมีความประพฤติดี
คุณเนืองสมรสกับ พระภูมิพิชัย (หม่อมราชวงศ์บุง ลดาวัลย์) มีบุตรธิดา
๕ คน คือ
๑. หม่อมหลวงทวีสันต์
ลดาวัลย์ สมรสกับท่านผู้หญิงบุษบา กิติยากร
๒. หม่อมหลวงนิรันดร
ลดาวัลย์ สมรสกับพิศมัย
๓. หม่อมหลวงภียยุพงศ์
ลดาวัลย์ สมรสกับชูชีพ บุนนาค
๔. หม่อมหลวงขันทอง
ลดาวัลย์
๕. หม่อมหลวงหิรัญญิกา
วรรณเมธี สมรสกับ นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย
คุณเนืองถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ. ๒๔๗๖
|
(2) ๕:ด:2:6 เกิดในสมัยรัชกาลที่
๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ เป็นบุตรพระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค)
มารดาชื่อ คุณหญิงฟอง ธิดาพระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ
ภูเก็ต) ผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ต เมื่อเยาว์วัยได้ติดตามบิดาออกไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ
เมื่อสมัยที่ท่านบิดาเป็นอุปทูตประจำอยู่ ณ กรุงลอนดอน ท่านฉี่เข้ารับราชการอยู่ในกระทรวงมหาดไทย
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงรามฤทธิรงค์ แล้วเป็นพระรามฤทธิรงค์
ตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดน่าน ต่อมาได้เลื่อนขั้นเป็นพระยาอมรฤทธิธำรงค์
ข้าหลวงประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาจ่าแสนบดี เข้ามารับราชการในกระทรวงมหาดไทย
ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยามนตรีสุริยวงศ์ ตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี
ถึงอนิจกรรมในรัชกาลที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ อายุ ๔๕ ปี
ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
และทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค) มีบุตรธิดา ๑๐ คน นับเป็นชั้นที่
๖ บุตรได้แก่ หลวงวัชรีเสวิน (ชิก) เฉลียว ฉลาด และฉันท์ ธิดาชื่อ
ฉอิ้ง เป็นภรรยาชิวห์ บุนนาค บุตรนายฉ่า บุนนาค เป็นต้น
|