(๒) ๗:ด:1:1:2:2 ธิดาพลตรีพระยาสุรวงศ์วิวัฒน์
(เตี้ยม บุนนาค) กับหม่อมหลวงวงศ์ (ราชสกุล ฉัตรกุล) เกิด พ.ศ. ๒๔๕๔ ที่บ้านจอมพล
เจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต (หม่อม ราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) ซึ่งอยู่ข้างวัดบุปผาราม
ฝั่งธนบุรี
เมื่อเยาว์วัย เข้าเรียนวิชาสามัญที่โรงเรียนซางตาครู้ซ คอนแวนต์ หลังออกจากโรงเรียนแล้วได้ฝึกหัดวิชาการบ้านเรือน
และวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติมที่บ้าน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๗ ท่านบิดาโอนมารับราชการ กระทรวงวัง ในตำแหน่งกรมวังประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินี และสมุหราชมณเฑียร คุณวรันดับจึงมีโอกาสได้เข้ารับราชการสนองพระเดช
พระคุณเป็นนางพระกำนัลในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความวิริยะอุตสาหะและจงรักภักดีจนตลอดรัชกาล
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ชั้นที่ ๕ เป็นบำเหน็จความชอบ
คุณวรันดับ สมรสกับร้อยโทหม่อมหลวงสฤษดิ์ ฉัตรกุล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ และพำนักอยู่ในที่ที่ท่านบิดายกให้ที่ตำบลสี่แยกบ้านแขก
ตลอดชีวิตคุณวรันดับ ได้ทำบุญทานการกุศลเป็นประจำ เป็นประธานอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานทอด
ณ วัดเศวตฉัตร วัดบุปผาราม วัดประยุรวงศาวาส และเป็นประธานสร้างอุโบสถถวายวัดป่ามะไฟ
จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น
คุณวรันดับ ฉัตรกุล ณ อยุธยา ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๕๓๖ อายุ ๘๒ ปี
|
(1) ๗:ด:1:1:2:2 บุตรพลตรีพระยาสุรวงศ์วิวัฒน์
(เตี้ยม บุนนาค) กับหม่อมหลวงวงศ์ (ราชสกุล ฉัตรกุล) เกิด พ.ศ. ๒๔๕๕
ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ขณะที่ท่านบิดาดำรงตำแหน่งทูตทหารบก สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
ได้ไปศึกษาต่อยังประเทศฝรั่งเศส ในระหว่างที่ศึกษาอยู่นั้นได้รับทุนกองทัพเรือไทย
ศึกษาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยเกรอนอบ Institut Electrotechnique
de L'Universite' de Grenoble หลังจากได้รับปริญญาแล้วได้เข้าศึกษาต่อด้านวิศวกรรมโยธาที่
E'cole Spe'ciale des Travaux Publics de Paris แขนงวิชาคอนกรีตเสริมแรง
งานท่าเรือ งานชลประทานและการส่งน้ำ ในระหว่างที่ศึกษาได้ถูกส่งไปดูงานการสร้างท่าเรือที่
Algiers และ Gran ทางตอนเหนือของอัฟริกา
เมื่อกลับมาประเทศไทย ได้รับการขอตัวชั่วคราวจากกระทรวงคมนาคม ให้ไปช่วยและร่วมงานกับศาสตรา-จารย์ด็อกเตอร์อากัตส์
ที่ประเทศเยอรมนี (ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๔) ในเรื่องการออกแบบสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ
จากนั้นได้อยู่ช่วยงานที่กระทรวงคมนาคมในด้านการท่าอีก ๓ ปี จนถึง
พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงได้โอนไปรับราชการที่กองทัพเรือ ทำงานด้านการออกแบบและไฟฟ้าของกองทัพเรืออยู่
๕ ปี ต่อมาได้รับการยืมตัวไปอยู่ประจำโครงการป้องกันอุทกภัยที่ Bureau
of Flood Control ของ ECAFE อยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๖ จึงได้เข้าดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการขุดลอกสันดอนกองโยธา
ฝ่ายช่างของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ตำแหน่งสุดท้ายในการท่าเรือแห่งประเทศไทย
คือ หัวหน้าฝ่ายการช่าง และพ้นจากตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ (อายุ ๖๓
ปี)
|
นาวาโทตัปนวงศ์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)
ร่วมกับบรรดาผู้สืบสายสกุลจากเจ้าพระยาบวรราชนายก และได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการมูลนิธิฯ
คนแรก
นาวาโทตัปนวงศ์ บุนนาค ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้าสืบตระกูลพลตรีพระยาสุรวงศ์วิวัฒน์
นาวาโทตัปนวงศ์ สมรสกับ กัญจนา บุนนาค ธิดาของเจ้าพระยาพิชัยญาติ (ดั่น
บุนนาค) กับลุ้ย (สกุลเดิม ปุสุวรรณ) มีบุตรธิดา ๔ คน ธิดาได้แก่ ธิติมดี
เป็นภรรยาตรีวัฒน์ ทังสุบุตร ธิดาชื่อ นรีรัตน์ เป็นภรรยาดอน ปรมัตถ์วินัย
บุตร ๒ คน ได้แก่ ภัฏฏการก์ และปุณวัจน์ นับเป็นลำดับชั้นที่ ๘
ถึงแก่กรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ อายุ ๗๗ ปี
|
หน้า 102
|
|
สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
|
|
|
|
|
|
|