(๓) ๗:ด:1:1:2:9 ธิดาพระยาสุริยาวงศ์ประวัติ
(เต๋า บุนนาค) กับคุณหญิงเยื้อน (สกุลเดิม ยุกตะนันท์) จบชั้นมัธยมศึกษา (ม.๖)
จากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนด์ และไปเรียนต่อที่โรงเรียนราชินีบนจนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์
พ.ศ. ๒๔๗๖ เข้าศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในแผนกเตรียมแพทย์และวิทยาศาสตร์
จบแพทยศาสตร์บัณฑิตจากแพทย์ศิริราชในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับเหรียญรางวัลที่ ๑
ในแผนกศัลยกรรม เข้าทำงานเป็นแพทย์ประจำบ้านในแผนกสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลศิริราช
เมื่อวชิรพยาบาลสร้างตึกสูติกรรมใหม่ ต้องการแพทย์ทางแขนงนี้จึงได้ย้ายที่ทำงานที่วชิรพยาบาล
และได้เป็นแพทย์ของกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ระหว่างสงคราม โลกครั้งที่
๒ แพทย์หญิงคุณหญิงตวงภากร์ต้องทำงานหนักมาก เพราะมีแพทย์ในแผนกนี้เพียง ๓
คน ได้แก่ นายแพทย์กร เกรียงไกร เป็นหัวหน้าแผนก นายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์
และแพทย์หญิงคุณหญิงตวงภากร์ เป็นแพทย์ผู้ช่วย ต้องทำหน้าที่รักษาพยาบาลผู้ป่วยจากสะเก็ดระเบิด
ผ่าตัดและทำคลอดอีกด้วย
พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้เป็นหัวหน้าแผนกต่อจากนายแพทย์ประพนธ์ และเป็นรองผู้อำนวยการวชิรพยาบาล
พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และเป็นผู้อำนวยการหญิงคนแรกของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร
ท่านเป็นผู้ริเริ่มให้มีการคุมกำเนิดชนิดใช้ห่วง Margulies ได้รับทุนวิจัยติดต่อกันมา
๗ ปี จาก Population Council ของสหรัฐอเมริกา
แพทย์หญิงคุณหญิงตวงภากร์ได้รับทุน Columbo ไปฝึกงานและดูงานที่ประเทศออสเตรเลีย
และสอบได้รับใบประกอบโรคศิลป ของมหาวิทยาลัยแพทย์ที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นแพทย์ไทยคนเดียวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าสอบสถาบันการแพทย์ของ
Australia Medical Board นอกจากนี้ท่านยังได้รับทุนไปศึกษาดูงานอีกหลายประเทศ
ในด้านมารดาทารกสงเคราะห์ และสูติ นรีเวช ในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้เป็นผู้ก่อตั้งสมาคม
แพทย์สตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ขึ้น โดยมีงานที่ปฏิบัติประจำของสมาคมในขณะนั้นคือ
การตรวจมะเร็งในระยะเริ่มแรกและการให้บริการคุมกำเนิด
พ.ศ. ๒๕๑๓ เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยขึ้น และดำรงตำแหน่งกรรมการและเหรัญญิกให้แก่สมาคมอยู่
๔ ปี ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นวิทยาลัย ราชวิทยาลัยตามลำดับ สถาบันนี้ได้ทำประโยชน์ทางด้านสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาให้กับประเทศเป็นอันมาก
นอกจากนี้ยังเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานกรรมการรถแพทย์และทันตแพทย์เคลื่อนที่ของสโมสรซอนต้า
กรุงเทพ ๑ โดยเอาโครงสร้างของรถเมล์ขนาดใหญ่มาต่อเป็นรถบริการ โดยมีห้องตรวจ
ห้องยา ห้องสุขา และติดเครื่องปรับอากาศ พร้อมเปิดบริการ เมื่อวันที่ ๑๘
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ที่วังสุโขทัยโดยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่
๗ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดและได้เริ่มให้บริการที่ชุมชนแออัดของกรุงเทพมหานครแทบทุกแห่ง
ซึ่งท่านปฏิบัติงานเองอยู่ถึง ๑๒ ปีเป็นกิจกรรมร่วมกับสมาคมแพทย์สตรี ท่านยังได้รับเลือกเป็นกรรมการอำนวยการอีกหลายองค์กร
เช่น สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๒) สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์
(พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๐) สมาคมไทย-ออสเตรเลียน พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นต้น
อนึ่ง ท่านเป็นผู้ติดต่อขอบริจาคที่ดินของคุณหญิงแพทย์โกศล ที่ถนนสุขุมวิท
ตรงข้ามวัดธาตุทอง จำนวน ๑ ไร่ ๖๐ ตารางวา ให้เป็นสำนักงานที่ทำการของสมาคม
แพทย์สตรีแห่งประเทศไทย และยังได้รับเงินบริจาคจากคุณหญิงแพทย์โกศลให้กับโรงพยาบาลศิริราช
โรงพยาบาลวชิระ และสมาคมแพทย์สตรีแห่งประเทศไทย แห่งละ ๖ ล้านบาทอีกด้วย
นับว่าเป็นพระคุณแก่สถาบันทั้ง ๓ เป็นอย่างมาก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดที่ได้รับพระราชทาน คือ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
และตติยจุลจอมเกล้า
แพทย์หญิงคุณหญิงตวงภากร์ สมรสกับศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.เจริญ ธรรมพานิช
บัณฑิตวิทยาศาสตร์คนแรกของประเทศไทย และเป็นศาสตราจารย์อุปการคุณของภาควิชาวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดา ได้แก่ แพทย์หญิงสุตาพร เป็นภรรยานายแพทย์อรรถกวี
สวัสดิ์เสวี และ นายรพีพัฒน์ ธรรมพานิช
(๕) ๗:ด:1:1:2:9 ธิดาพระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ
(เต๋า บุนนาค) กับคุณหญิงเยื้อน (สกุลเดิม ยุกตะนันท์) เกิด พ.ศ. ๒๔๖๒ ในจวนผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
ที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เป็นหลานปู่ของเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์
(โต บุนนาค) สมุหราชองครักษ์ในรัชกาลที่ ๕
ระหว่างท่านบิดารับราชการต่างจังหวัด ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนวรนารีเฉลิม
จังหวัดสงขลา เมื่อย้ายกลับมากรุงเทพฯ ได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนผดุงดรุณี
ถนนประมวล จนจบชั้นมัธยมของโรงเรียน และไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเซนต์แมรีส
(เอส.พี.จี.) จนจบมัธยมบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒
สมรสกับศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ องคมนตรี บุตรพระยาสรรพกิจเกษตรการกับคุณหญิง
ศวง สรรพกิจ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ขณะที่พระยาสรรพกิจเกษตรการดำรงตำแหน่ง ปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ
มีบุตรธิดา ๔ คน บุตรได้แก่ สุประดิษฐ์ ประตาป และประมวล มีธิดา ๑ คนชื่อ
กอบชื่น
ท่านผู้หญิงชวนชื่นได้ถวายการรับใช้เบื้องพระยุคลบาท ในรัชกาลองค์ปัจจุบันตลอดมา
ตามพระราชประสงค์ ท่านได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
มหาวชิรมงกุฎ และทุติยจุลจอม เกล้าวิเศษ
|
หน้า 105
|
|
สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
|
|
|
|
|
|
|