|
(1) ๕:ด:6:1 พระยาเดชานุชิต (หนา)
เกิด พ.ศ. ๒๔๐๘ เป็นบุตรพระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) กับคุณหญิงบัว
ต.จ. (สกุลเดิม สมบัติศิริ) มีน้องร่วมบิดามารดา ได้แก่ พระยาวิชยาธิบดี
(แบน) พระยาศรีธรรมศกราช (ปิ๋ว) และพระยาวิสุทธิราชรังสรรค์ (ใหญ่)
เป็นต้น
พ.ศ. ๒๔๑๙ ได้เดินทางไปศึกษา ณ ประเทศเยอรมนี ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง
ด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการทำเครื่องอาวุธยุธโธปกรณ์ จากวิทยาลัยเมืองชาร์ลอตเตนเบอร์ก
กลับเข้ามารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศในตำแหน่ง COUNCILLOR
มีหน้าที่ต้อนรับแขกเมืองและเป็นล่ามโดยทั่วไป
พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงอุดมสมบัติ ต่อมาเมื่อกองทหารฝรั่งเศสมาตั้งอยู่
ณ จังหวัดจันทบุรี ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้หลวงอุดมสมบัติ
ทำหน้าที่เป็นข้าหลวงฝ่ายไทยกำกับกองทัพฝรั่งเศส ณ จันทบุรี ช่วยงานท่านบิดา
ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี (พระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด)
ซึ่งขณะนั้นเป็น พระยาวิชยาธิบดี)
|
พ.ศ. ๒๔๓๙ กลับเข้ามาทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระมนตรีพจนกิจ
ไปรับราชการที่จังหวัดเชียงใหม่ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพระยาทรงสุรเดช ในการวางระเบียบราชการบริหารมณฑลพายัพ
ให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศักดิ์เสนี
โปรดเกล้าฯ ให้ไปจังหวัดสงขลา เพื่อช่วยงานเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม ตั้งแต่ยังเป็นที่พระยาสุขุมนัยวินิต)
สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรี ธรรมราช ปราบปราม ๗ หัวเมืองที่ก่อเหตุร้ายเนืองๆ
ให้สงบราบคาบ หัวเมืองแขกทั้ง ๗ นี้ ได้แก่ ยะหริ่ง ยะลา ตานี รามันห์ ระแงะ
หนองจิก และสายบุรี
พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บัญชาการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ปีเศษ
ต่อมาเป็นสมุหเทศาภิบาล มณฑลปัตตานีถึง ๒๒ ปี ประวัติการณ์ไม่เคยมีสมุหเทศาภิบาล
คนใดครองตำแหน่งอยู่ได้นานถึงเพียงนั้น ใน พ.ศ. ๒๔๕๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เป็น พระยาเดชานุชิต สยามิศรภักดิ์ พิริยะพาหะ
อันเป็นตำแหน่งเก่าแก่ที่นับถือของหัวเมืองแขกทั้ง ๗ นั้น งานที่สำคัญในภาคใต้
คือ การตัดถนนหลายสาย เพื่อประโยชน์ในการคมนาคมและค้าขาย การสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กข้ามแม่น้ำตานี
พระยาเดชานุชิต (หนา) เป็นแม่กองอำนวยการสร้าง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
เสนาบดีกระทรวงคมนาคม ประทานนามให้เกียรติยศแก่ผู้สร้างว่า "สะพานเดชานุชิต"
ในรัชกาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๖๖ โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลมหาราษฎร์
จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ รับพระราชทานบำนาญ
พระยาเดชานุชิต ได้รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์ตรีแล้วเป็นมหาเสวกตรี มหาเสวกโทตามลำดับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดที่ได้รับพระราชทาน ได้แก่ ประถมาภรณ์ช้างเผือก
ประถมาภรณ์มงกุฎสยาม และทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พระยาเดชานุชิต ถึงอนิจกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ อายุ ๘๑ ปี มีบุตรธิดารวม ๑๕
คน ได้แก่ ขุนผดุงพาณิช (น๊อต) ขุนวิจารณ์คาวี (นุ่ม) ธิดาชื่อ ใหญ่ เป็นภรรยาพระชัยบูรณ์
(จิตร สิงหเสนี) ธิดาชื่อ คุณหญิงน้อย เป็นภรรยาพระยานเรนทราชา (หม่อมหลวงอุรา
คเนจร)
|
(2) ๕:ด:6:1 พระยาวิชยาธิบดี
(แบน) เป็นบุตรพระยาราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) กับคุณหญิงบัว
ต.จ. (สกุลเดิม สมบัติศิริ) เป็นน้องร่วมบิดามารดากับพระยาเดชานุชิต
(หนา บุนนาค) เข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เป็นพระเทพสงคราม
ตำแหน่งรักษาราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และอยู่ในตำแหน่งนี้
๑๒ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๖ - ๒๔๔๗ ระหว่างที่ฝรั่งเศสยึดครองจังหวัดจันทบุรี
ได้ทำหน้าที่เป็นผู้รักษาบ้านเมืองในเวลาคับขันได้อย่างเรียบร้อย
ครั้นเมื่อฝรั่งเศสถอนทหารออกไปจากจันทบุรีแล้ว ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙
โปรดเกล้าฯ ให้รวมจังหวัดจันทบุรี ระยอง และขลุง เป็นมณฑลจันทบุรี
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาวิชยาธิบดี เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรีคนแรก
พระยาวิชยาธิบดี (แบน) มีบุตรธิดาหลายคน ธิดาคนโตซึ่งเกิดกับมารดาชื่อ
สิทธิ์ (สกุลเดิม เอครพานิช) คือ คุณหญิงเริ่ม เป็นภรรยาพระยาวิเศษฤาไชย
(หม่อมหลวง เจริญ อิศรางกูร) ส่วนบุตรที่เกิดกับคุณหญิงพร้อม
(เอครพานิช) ได้แก่ ภุชชงค์ และไพบูลย์ เป็นต้น พระยาวิชยาธิบดี
(แบน) มีหลานปู่ชื่อ พลตำรวจโท สวัสดี ซึ่งนับเป็นลำดับชั้นที่
๗
|
(3) ๕:ด:6:1 พระเทพสงคราม (โต)
เป็นบุตรพระยาอรรคราช นารถภักดี (หวาด บุนนาค) กับคุณหญิงบัว ต.จ. (สกุลเดิม
สมบัติศิริ) เป็นน้องร่วมบิดามารดากับพระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค) รับราชการตำแหน่งปลัดมณฑลจันทบุรี
ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระเทพสงคราม ต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้รั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลจันทบุรี
พระเทพสงคราม (โต) มีบุตรธิดาได้แก่ แสตม สติน และกิติม เป็นต้น
|
หน้า 51
|
|
สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
|
|
|
|
|
|
|