(2) ๗:ด:1:1:2:9 บุตรพระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ
(เต๋า บุนนาค) กับคุณหญิงเยื้อน (สกุลเดิม ยุกตะนันท์) เกิด พ.ศ. ๒๔๖๔ ที่ตำบลบ่อยาง
อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ขณะนั้นบิดารับราชการอยู่ในกระทรวงมหาดไทย ตำแหน่งสมุหเทศา
ภิบาลมณฑลภาคใต้ ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรี ราเมศวร์ ทรงเป็นอุปราชมณฑลภาคใต้
เป็นผู้บังคับบัญชา ทรงพระกรุณาพระราชทานชื่อให้ว่า "สำเร็จ"
เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนผดุงดรุณี โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
จบชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เข้าเรียนต่อชั้นปริญญาตรี
ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ระหว่างที่เป็นนิสิตปีที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๘๘ - ๒๔๘๙) ได้ไปเป็นนักเรียนนายทหารสารวัตร
และได้ประดับยศนายร้อยตรี ประจำกรมสารวัตรทหารในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ จากนั้นกลับเข้าเรียนต่อคณะวิศวกรรมศาสตร์
ได้รับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ต่อมาได้รับทุนจาก
British Council ไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จบหลักสูตร SAFETY ENGINEER จากสถาบัน
ROYAL SAFETY & PREVENTION ASSOCIATION ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
หลังจากบิดาย้ายกลับมารับราชการในกรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ ร้อยตรีสำเร็จ
บุนนาค ได้มาอยู่กับบิดาที่ "บ้านสุริยะ" ถนนเดโช เข้ารับราชการปี
พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นนายช่าง แผนกใบยา โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ต่อมาเป็นนายช่างโท
กองควบคุมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่อจบหลักสูตรการศึกษาจากต่างประเทศ
ได้กลับมารับราชการต่อเป็นนายช่างประจำสำนักงาน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ. ๒๕๐๒ ลาออกจากราชการ ทำงานกับบริษัทเอกชน เป็นนายช่างใหญ่บริษัท MERKSHARP
& DHOME (THAILAND) พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นผู้ช่วยหัวหน้าฝ่าย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๒๕๔๑ เป็นประธานมูลนิธิชีวจิต
ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จตุรถาภรณ์ ช้างเผือก เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
และเหรียญชัยสมรภูมิ ร้อยตรีสำเร็จ สมรสกับ พงศ์พันธุ์ ธิดาพระยาสโรบลบดี
(แมน สโรบล) มีบุตรธิดา ๓ คน บุตรได้แก่ จงพิศ และรุ้ง ธิดาชื่อ สุรัชนี
นับเป็นลำดับชั้นที่ ๘
ผลงานที่ภาคภูมิใจของร้อยตรีสำเร็จ บุนนาค คือ การได้เป็นเสรีไทย หน่วย
BANGKOK 003 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขณะที่เป็นนักเรียนนายทหารสารวัตร
(นร.สห.) ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรกำหนดไว้ว่า นร.สห. จะต้องมาจากนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น
(ขณะนั้นหม่อมเจ้ารัชฎาภิเษก โสณกุล เป็นอธิการบดีมหา วิทยาลัย) ได้รับการฝึกอบรมอยู่ภายในกรมสารวัตร
๑ เดือน จึงถูกส่งออกฝึกสนาม ได้ร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเรียบร้อยและอดทนอย่างยิ่ง
ร่วมกับหน่วย OSS (THE OFFICE OF STRATEGIE SERVICE) ในการรับอาวุธและเวชภัณฑ์ที่ส่งมาช่วยฝ่ายสัมพันธมิตรจำนวนหลายครั้ง
หลังสงครามสงบแล้ว ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถาน เสรีไทย สายนิสิตจุฬาลงกรณ์ขึ้น
เป็นหินธรรมชาติทั้งแท่งสูง ๓.๕ เมตร กว้าง ๒.๕ เมตรโดยประมาณ ตั้งอยู่หน้าหอสมุดจุฬาลงกรณ์ฯ
ได้ทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๘ มีแท่นหินอ่อนสลักบทกลอนที่ร้อยตรีสำเร็จ
บุนนาค ประพันธ์ไว้ในนามของชมรมเสรีไทย สายนิสิตจุฬาลงกรณ์ฯ ความว่า
ธุลีกองละอองดินหินก้อนนี้
|
แทนจงรักภักดีพลีชีพให้ |
แด่ล้นเกล้าล้นกระหม่อมจอมไผท |
แด่ชาติไทยแด่แผ่นดินถิ่นธรณี |
เมื่อยามเรียนก็พากเพียรเพื่อความรู้
|
ชาติต้องการรวมกันสู้ไม่หลีกหนี |
อุทิศได้แม้เลือดเนื้อและชีวี |
เพื่อปกป้องปฐพีพี่น้องไทย |
นี่คืออุดมการอันหาญกล้า
|
นี่คือค่าชีวีที่พลีให้ |
นี่คือ"จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"
|
สถาบันที่สอนให้ใจทะนง |
หินก้อนนี้คือวจีที่ประกาศ
|
ความมุ่งมาดมุ่งมั่นอันสูงส่ง |
เอกราชของชาติไทยต้องดำรง |
อยู่ยืนยงคงสถิตนิจนิรันดร์ |
|
หน้า 106
|
|
สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
|
|
|
|
|
|
|